24 April 2024


เร่งเครื่องเต็มสูบ! โคราชเดินหน้านโยบายสำคัญเกษตรเร่งสางปัญหาอ้อยล้นโรงงาน (ชมคลิป)

Post on: Mar 17, 2018
เปิดอ่าน: 2,417 ครั้ง

 

โคราชเร่งขับเคลื่อนนโยบายด้านเกษตรรัฐบาล ผ่านคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด ประเดิมแก้ปัญหาอ้อยงานแรก หลัง 132 รายประสบปัญหาการรับซื้อ หวั่นตัดอ้อยไม่ทันฤดูกาลเปิดหีบ ยืนยันอ้อยทุกลำของโคราชได้เข้าโรงงานทันการฤดูการปิดหีบแน่

อ้อย

เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ (16 มี.ค.)ที่ห้องประชุมมูลนิธิท้าวสุรนารี ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา อ.เมือง นครราชสีมา นายวิบูลย์   ไชยวรรณ   เกษตรจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรระดับจังหวัด (Chief  Of  Operation- หรือ COO)    ครั้งที่  1/2561 โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานเกษตรทั้งส่วนกลางและภูมิภาคเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน  ทั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลในด้านการเกษตร โดยมุ่งที่ตัวเกษตรกรเป็นจุดศูนย์กลาง ที่ประชุมได้มีการหารือประเด็นสำคัญ เช่น โครงการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่, ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก), การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกร (Zoning) ,ธนาคารสินค้าเกษตร ,โครงการ 5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฏีใหม่ ถวายในหลวง, การผลิตข้าวครบวงจร  และการพัฒนาเกษตรกรเป็น Smart  Famer  เป็นต้นแก้ปัญหาอ้อยโคราช-web1แก้ปัญหาอ้อยโคราช-web2

นายวิบูลย์  ไชยวรรณ เกษตรจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า การประชุมนัดแรกของคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรระดับจังหวัดครั้งนี้ ได้มีการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญด้านการเกษตรของรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้ทีประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยที่ยื่นเรื่องขอให้รัฐบาลช่วยเหลือในการขยายเวลาในการปิดหีบอ้อยของโรงงานออกไปอีกเนื่องจากมีเกษตรกรส่งอ้อยให้กับโรงงานไม่ทันเวลานายวิบูลย์ เกษตรจังหวัดโคราช-1

ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการหารือแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มนี้ ในกรณีที่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเป็นห่วงเรื่องราคา และระยะเวลาในการส่งอ้อยเข้าสู่โรงงานที่เกรงว่าจะไม่ทันเวลา เนื่องจากปีนี้มีการปลูกอ้อยเพิ่มขึ้นส่งผลให้ผลผลิตอ้อยที่ออกสู่ตลาดสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 30  ประกอบการกับเก็บเกี่ยวล่าช้า จากภาวะอากาศร้อน การขนส่งที่เข้าได้ยาก  และการขาดแคลนแรงงานในการตัดอ้อยนั้น ขอยืนยันว่า เกษตรกรไม่ต้องเป็นห่วงหรือกังวลในประเด็นดังกล่าวทางคณะกรรมการฯ ได้มีการหารือกับทางสมาคมชาวไร่อ้อย และเจ้าของโรงงานผลิตน้ำตาลทั้ง 3 แห่งในจังหวัดนครราชสีมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกฝ่ายพร้อมให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  เกษตรกรไม่ต้องกังวลว่าอ้อยที่เหลืออยู่จะเก็บเกี่ยวไม่ทันหรือโรงงานจะปิดหีบอ้อยก่อน   โดยก่อนจะปิดหีบอ้อยประจำปีคณะอนุกรรมกรรมการฯจะมีการประชุมอีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นการสำรวจหรือเก็บข้อมูลครั้งสุดท้าย หรือเรียกว่าเป็นการเก็บตกเกษตรกรในวันที่ 3 เม.ย.ซึ่งเป็นการประชุมนัดสุดท้ายที่จะรวบรวมข้อมูลในการแก้ไขปัญหา โดยโรงงานจะปิดหีบอ้อยตามฤดูกาลตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.เป็นต้นไปในบางโรงงาน ซึ่งการประชุมนัดสุดท้ายนี้จะรวบรวมข้อมูลอ้อยที่เหลืออยู่ และหารือกับโรงงานว่าโรงงานใดสามารถเปิดรับอ้อยของเกษตรกรได้ จากนั้นจะให้เกษตรกรนำอ้อยไปส่งให้โรงงานดังกล่าวเพื่อเก็บตกอ้อยทุกลำของจังหวัดนครราชสีมาให้เข้าสู่โรงงานทั้งหมดแก้ปัญหาอ้อยโคราช-web3

นายวิบูลย์ กล่าวว่า เกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมาที่ประสบปัญหาดังกล่าวมีทั้งหมด 132 ราย แบ่งเป็นเกษตรกร 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นคู่สัญญาของโรงงาน ประมาณ 77 ราย ซึ่งทางโรงงานยืนยันว่าจะรับซื้อทุกราย ส่วนที่เหลืออีก 55 ราย เป็นเกษตรกรอิสระไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางโรงงาน แต่ทางโรงงานก็ยินดีที่จะรับซื้ออ้อยของเกษตรกรกลุ่มนี้  เพียงแต่อาจมีข้อจำกัดในเรื่องการจัดลำดับคิวในการรับซื้อ โดยให้ส่งโควต้าอ้อยเข้าโรงงานวันละ 100 ตัน ซึ่งให้ไปจัดคิวกันเอง ฉะนั้นในฤดูกาลผลิตอ้อยปีนี้คาดว่าจะไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน

สำหรับจังหวัดนครราชสีมาอ้อยถือเป็นพืชเกษตรสำคัญโดยมีพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานทั้งสิ้น 693,121 ไร่ ผลิตผลิตรวมฤดูการผลิต 2559/60 จำนวน 7,727,043 ตัน

แก้ปัญหาอ้อยโคราช-web4