19 April 2024


สุดยอด!ต้นแบบชุมชนเมือง“บ้านเกาะราษฏร์สามัคคี”โคราชแหล่งผลิตผักปลอดสารพิษเห็ดภูฎานสร้างรายได้

Post on: Feb 23, 2018
เปิดอ่าน: 1,513 ครั้ง

 

เปิดตัวต้นแบบเกษตรชุมชนเมือง “บ้านเกาะราษฎร์สามัคคี” ใช้พื้นที่ที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เป็นแหล่งผลิตเห็ดและผัดปลอดสารพิษอาหารและรายได้ให้ชุมชน ภายใต้ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์   มีพื้นที่แค่ 2 งานสามารถสร้างงานสร้างรายได้อย่างงามให้สมาชิกกว่า 400 หลังคาเรือน  พร้อมดันให้เกิด ศพก.แหล่งเรียนรู้ต้นแบบการทำเกษตรที่ถูกต้องเหมาะสมกับชุมชนอึ้งแค่ 1 งานสามารถทำเกษตรได้ครบ

เกษตรต้นแบบชุมชนเมือง2-1นายไชยา คูเมือง ผู้ใหญ่บ้านบ้านเกาะราษฎร์สามัคคี ม.6  ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ชุมชนบ้านเกาะราษฏร์สามัคคี มีทั้งหมด 415 หลังคาเรือน มีประชากรประมาณ 1,200 คน ซึ่งเป็นชุมชนที่ถูกไล่รื้อมาจากเขตเทศบาลนครราชสีมา  ตั้งแต่ปี 2539 ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขายและรับจ้าง เพราะเป็นชุมชนเมือง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยที่สาธารณหรือที่ส่วนกลางจะเหลือน้อยมากประมาณ 2 งานเท่านั้น


ที่ผ่านมาประชาชนมีปัญหาเรื่องสุขภาพป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดัน คลอเรสเตอรอลสูง ซึ่งเกิดจากการไม่ออกกำลังกายและการบริโภคอาหารที่มีสารพิษเข้าไปมาก  จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาดูแลสุขภาพ ด้วยการปลูกผักกินเองเพื่อลดปัญหาการได้รับสารพิษหรือยาฆ่าแมลงและลดรายจ่ายจากการซื้อผักตลาดที่มักจะเน่าเสียง่ายเพราะฉีดยาฆ่าแมลงโดยให้ประชาชนใช้กระถางทำจากยางรถยนต์เก่ามาปลูกพริก มะเขือ ต้นหอม ผักกาดเป็นต้น ไว้กินเองซึ่งสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าได้มาก ขณะเดียวกันก็มีแปลงสาธิตหรือแปลงผักกลางที่ปลูกไว้ให้ประชาชนได้มาศึกษา ที่ศูนย์เรียนรู้และเกษตรอินทรีย์  “ชุมชนบ้านเกาะราษฏร์สามัคคี” บนพื้นที่แค่ 2 งานโดยภายในพื้นที่ดังกล่าวมีทั้งแปลงผัก ปุ๋ยอินทรีย์ สถานที่เพาะเห็ดฟางในตระกร้าพลาสติกและส่วนหนึ่งใช้เป็นโรงเรือนเพาะเห็ดภูฐานจำนวน 10,000 ก้อนแบ่งเป็น 2 โรงเรือนได้รับเงินสนับสนุน ทำเป็นโครงการแปลงเกษตรสาธิตผักส่วนครัวรั้วกินได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามนโยบายของรัฐบาล  มีตลาดรองรับ เช่นตลาดขายส่งสุรนคร ตลาดย่าโม สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเดือนละกว่า 30,000 บาทซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ซื้อ

เกษตรต้นแบบชุมชนเมืองweb-1

เกษตรต้นแบบชุมชนเมืองweb-2“การปลูกผักกินเอง ชมชนบ้านเกาะราษฎร์สามัคคี ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากทุกวันนี้หลายหน่วยงานมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ให้ประชาชนบริโภคผักปลอดสารพิษ และที่สำคัญการที่เราปลูกผักไว้กินเองง่ายกว่า ที่จะไปซื้อเองมาบริโภค  จะกินเมื่อไหร่ก็ไปเด็ดสดๆ ได้เลย พอผลผลิตได้เยอะเหลือกิน ก็แบ่งปันกันไป เกิดวิถีชีวิตของคนในชุมชน เครือญาติมีการเกื้อกูลกัน ชาวบ้านก็เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แลยังมีการแบ่งพื้นที่ทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เองเพื่อให้มั่นใจว่าผักที่ปลูกต้องงปลอดสารพิษร้อยเปอร์เซ็นต์” นายไชยา กล่าว

นาง อรนัส เกษตรตำบล-web1ขณะที่นางอรณัส การสรรพ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  กล่าวว่า  ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ บ้านเกาะราษฎร์สามัคคี แห่งนี้ จัดตั้งมาตั้งแต่ ปี 2558 รัฐบาล คสชได้จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาอาชีพตามความต้องการของชุมชน เพื่อบรรเทาภัยแล้ง  โดยชุมชนบ้านเกาะฯ ได้รับงบประมาณจัดทำโครงการแปลงเกษตรสาธิตผักสวนครัวรั้วกินได้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากนั้น ปี 2560 ได้รับงบประมาณ อีก 400,000 บาท จากโครงการเพาะเห็ด 9101  ซึ่งโครงการทั้ง 2 โครงการอยู่ในศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ แห่งนี้ เกษตรกรได้ดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีจุดเรียนรู้ 7 ฐาน ประกอบด้วย 1. การเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็นภูฎานในโรงเรือน 2 . การแปรรูปเห็ดเพื่อเพิ่มมูลค่า 3.การปลูกผักผลไม้ปลอดภัยจากสารพิษ  4. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพ 5. การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า 6. การใช้ประโยชน์จากวัสดุวัสดุเหลือใช้(การนำยางรถยนต์มาประดิษฐ์เป็นกระถางปลูกต้นไม้) และ  7. การประดิษฐ์กระถางอิ่มน้ำปลูกต้นไม้ ซึ่งชุมชนแห่งนี้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สภาพดีขึ้น ประชาชนมีความรักสามัคคีกัน และ ยังมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย

เกษตรต้นแบบชุมชนเมืองweb-3นอกจากนี้ทางเกษตรอำเภอยังได้ผลักดันให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ( (ศพก.) ตำบลบ้านเกาะ” ขึ้นด้วย  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตสินค้าเกษตรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบการทำการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับชุมชน สามารถเป็นแบบอย่างให้กับเกษตรกรในชาชน และเป็นศูนย์กลางการบริการและแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานต่างๆ  กับเกษตรกรในชุมชนด้วย  ภายใน ศพก. แห่งนี้จะมีฐานเรียนรู้ 6 ฐาน   เช่น ฐานการเพาะเห็ดในโรงเรือน ฐานการเลี้ยงปลาดุกในบ่อ,  ฐานการปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ ฐานการปลูกผักสวนครัวในวัสดุเหลือใช้ ,ฐานการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ เป็นต้น  มีพื้นที่เพียงเล็กน้อยประมาณ 1-2 งานก็สามารถทำการเกษตรที่หลากหลายได้  ซึ่งการทำการเกษตรแนวใหม่ที่สอดรับกับวิถีคนเมือง เช่น การนำเอาขวดพลาสติกมาทำเป็นกระถางปลูกพริกและผักอื่น ๆ การดัดแปลงท่อพีวีซีธรรมดามาเป็นแปลงปลูกผักแบบไฮโดรโปรนิกส์  เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถสร้างรายได้ให้เดือนละไม่น้อยกว่า 6,000 บาทด้วย นางอรณัส กล่าว

เกษตรต้นแบบชุมชนเมืองweb-4

เกษตรต้นแบบชุมชนเมืองweb-5

เกษตรต้นแบบชุมชนเมืองweb-6

เกษตรต้นแบบชุมชนเมืองweb-7

เกษตรต้นแบบชุมชนเมืองweb-8

เกษตรต้นแบบชุมชนเมืองweb-9

เกษตรต้นแบบชุมชนเมืองweb-10เกษตรต้นแบบชุมชนเมือง11เกษตรต้นแบบชุมชนเมืองweb-12เกษตรต้นแบบชุมชนเมืองweb-13