19 April 2024


“9101ตามรอยเท้าพ่อ” สานฝัน พลิกป่าช้าชัยภูมิเป็นศูนย์ ศก.พอเพียงครบวงจรสร้างรายได้ชุมชนยั่งยืน

Post on: Dec 25, 2017
เปิดอ่าน: 678 ครั้ง

 

โครงการ 9101  ตามรอยเท้าพ่อ สานฝันเกษตรกรไทย พลิกป่าช้าชัยภูมิ เป็นศูนย์ ศก.พอเพียง ครบวงจร สร้างงาน สร้างรายได้ ชาวบ้านลืมตาอ้าปากได้ กว่า 1,000  ครอบครัว “หลุบคา” ชุมชนต้นแบบแห่งความสำเร็จ

9101 ตามรอยเท้าพ่อหลุบคา10นายสลิต  หาญอาสา ประธานโครงการ 9101  ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนตำบลหลุบคา อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ  เปิดเผยว่า ตำบลหลุบคา  มีพื้นที่สาธารณะประโยชน์ว่างเปล่า อยู่เดิม จำนวน  9  ไร่ บริเวณบ้านหลุบคา หมู่ที่ 1  ซึ่งบางส่วนเป็นป่าเสื่อมโทรม และเป็นที่ ฌาปนกิจศพ (ป่าช้า) ประชาชนใน 10 หมู่บ้าน  ทางชุมชนและหน่วยงานราชการ จึงหารือกันที่จะนำพื้นที่ดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์  ด้วยการพัฒนาปรับปรุงเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งได้เริ่มโครงการเมื่อปี พ.ศ. 2557  เป็นต้นมา โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลหลุบคาและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพต่างๆ ให้เกษตรกรเพื่อเพิ่มรายได้ และการส่งเสริมแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนใหญ่เป็นการจัดการอบรม ให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง  แต่การดำเนินการดังกล่าวยังไม่ประสบความสำเร็จ  เนื่องจากยังขาดแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ ที่ครบวงจร  ประชาชนหลายรายไม่สามารถนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ได้  เนื่องจาก ปัจจัยพื้นฐาน ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรไม่เหมือนกัน เกษตรกรยังประสบปัญหาหนี้สินอยู่มาก

ดังนั้นการส่งเสริมแนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และการจัดทำแปลงเรียนรู้เพื่อสาธิตกระบวนการ วิธีการ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการให้ประชาชนได้เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่

9101 ตามรอยเท้าพ่อหลุบคา6ต่อมารัฐบาลมีโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ ลงมายังพื้นที่ต่าง ๆ ทางศูนย์เรียนรู้ฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณมาทั้งสิ้น 2.5 ล้านบาท  เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชน ด้วยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงมาประยุกต์ใช้และส่งเสริมให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ตำบลหลุบคา รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เน้นการลดต้นทุน  เพิ่มผลผลิต  และพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชน  และเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภาคการเกษตรของชุมชนมีส่วนร่วมแบบประชารัฐอย่างยั่งยืน

นายสลิต  กล่าวว่า โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ ของ ต.หลุบคา ได้มีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 กิจกรรมคือ 1.กิจกรรมในศูนย์การเรียนรู้ฯ ใช้งบประมาณ จำนวน 2  ล้านบาท โดยการจัดสัดส่วนที่ทั้ง 9 ไร่ ออกเป็น   แปลงปลูกข้าวไรท์เบอรี่ พร้อมเลี้ยงปลาในแปลงนา  แปลงปลูกกล้วย  พื้นที่เลี้ยงสัตว์ เช่น หมูหลุม ไก่ไข่  พื้นที่ทำปุ๋ยอินทรีย์  เรือนเพาะเห็ดนางฟ้า  เรือนเพาะชำกล้าไม้ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ประชาชนที่สมบูรณ์แบบและครบวงจร ซึ่งผลผลิตที่ได้จากศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ก็ส่งต่อไปให้กลุ่มแม่บ้านแปรรูปเป็นอาหาร

  1. กิจกรรมการแปรรูปอาหารปลาร้าบอง ได้งบประมาณจำนวน 3 แสนบาท  ดำเนินการโดยกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งจะนำผลผลิตที่ได้จากศูนย์เรียนรู้ไปทำการแปรรูป เพื่อนำมาจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับกลุ่ม และ
  2. โครงการแปรรูปอาหารจากผลผลิตทางการเกษตร ที่ เช่น ปลาส้ม ไข่เค็ม กล้วยฉาบ ขนมดอกจอก ขนมปั้นสิบ เป็นต้น จำนวน 2 แสนบาท  ซึ่งเป็นผลผลิตจากศูนย์เรียนรู้ฯ

9101 ตามรอยเท้าพ่อหลุบคา4นายสลิต  กล่าวว่า  โครงการ 9101 ตามรอยพ่อฯ เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างแท้จริง และสร้างความยั่งยืน สร้างความรักสามัคคีให้ชุมชน ต.หลบคาอย่างมาก มีเกษตรกรได้ประโยชน์มากกว่า 1,000 ราย มีกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้ง ด้านการเกษตรอินทรีย์ ด้านการปศุสัตว์  และ ด้านการประมง  ประชาชนทั่วไปสามารถศึกษาและเรียนรู้และน้อมนำไปปฏิบัติต่อตนและครัวเรือนได้  นอกจากนี้ยังสร้างความเข้มแข็งและรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชนบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ทั้งยังส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เน้นการลดต้นทุน  เพิ่มผลผลิต  และพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน  และสนับสนุนให้ชุมชนเกษตรกรให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคการเกษตร สามารถพึ่งตนเองได้ อันจะนำไปสู่การพัฒนาการเกษตรของชุมชนอย่างยั่งยืน

9101 ตามรอยเท้าพ่อหลุบคา5

9101 ตามรอยเท้าพ่อหลุบคา12ด้านนายสมจิตร ธีระบุญชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 7 จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน  เป็นโครงการที่ มติ ครม.ให้ดำเนินการ ในพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์ฯ ทั้ง 8 จังหวัดอีสานใต้  มีจำนวน 1,650 ชุมชน รวมกว่า 2,800 โครงการ รับงบประมาณมาทั้งหมดประมาณ 4,000 กว่าล้านบาท ซึ่งเจตนาของรัฐบาลคือต้องการสนับสนุนงบประมาณให้เกษตรกรกรนำไปพัฒนาอาชีพในชุมชนของตนเองอย่างยั่งยืน  โดยจัดสรรให้ชุมชนละประมาณ 2.5 ล้านบาท ขณะนี้ทุกโครงการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปทั้งหมดแล้วเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560ในระยะที่ 1 จากนี้ไปจะเป็นการขยายผลให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป  ทุกโครงการต้องเกิดจากแนวคิดของประชาชนในชุมชนเอง ทุกโครงการมีความโปรงใส่ตรวจสอบได้

สำหรับจังหวัดชัยภูมิ ได้ดำเนินโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี ภายใต้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จำนวน 16 ศูนย์ โดยจัดแบ่งพื้นที่ชุมชนเพื่อบริหารการด้านการเกษตร 155 ชุมชน ดำเนินโครงการทั้งหมด 292 โครงการ งบประมาณ 387,286,900 บาท ประชาชนได้รับประโยชน์ 170,076 ราย

9101 ตามรอยเท้าพ่อหลุบคา1

9101 ตามรอยเท้าพ่อหลุบคา2

9101 ตามรอยเท้าพ่อหลุบคา11

9101 ตามรอยเท้าพ่อหลุบคา13  9101 ตามรอยเท้าพ่อหลุบคา15