หลังจากมาตรา 44 ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการ มาทำความรู้จักกับมาตรา 44 ในแบบฉบับง่ายๆ ว่ามีอะไรบ้าง
มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2557 กับการประการใช้แทน กฎอัยการศึก เมื่อค่ำของวันที่ 1 เมษายน 2558 และมีผลบังคับใช้ทันที สาระสำคัญมีอะไรบ้างนั้นมาดูเพื่อทำความเข้าใจให้ง่ายขึ้น
“มาตรา 44” กับ “กฎอัยการศึก” จากภาพรวมค่อนข้างเหมือนกันแต่จะแตกต่างในทางรายละเอียด ตรงที่ กฎอัยการศึก มีบทบัญญัติที่ชัดเจน แต่มาตรา 44 ขอบเขตอำนาจนั้นกว้างกว่า ในเรื่องของอำนาจ กฎอัยการศึก ให้อำนาจแก่ทหาร แต่ มาตรา 44 มีอำนาจทั้งนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ
ความเหมือนคือ ยังคงห้ามไม่ให้ชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คนเช่นเดิม
นอกจากนี้ ทุกการกระทำของ คสช. จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและไม่ต้องรับโทษใดๆ ตามที่อาจจะเกิดขึ้นตลอดการบังคับใช้มาตรา 44 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ใครบ้างที่มีอำนาจหน้าที่ภายใต้มาตรา 44 ?
มาตรา 44 ระบุว่า “ข้าราชการทหาร” ตั้งแต่ยศร้อยตรี,เรือตรี หรือ เรืออากาศตรี เป็นเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย และยศต่ำกว่านี้เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย โดยกฎหมายระบุให้เจ้าหน้าที่ทหารเป็นพนักงานฝ่ายปกครองได้ในคราวเดียวกัน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
การฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งของ คสช. ถือเป็นความผิด
ทั้งนี้ มาตรา 44 ได้มอบอำนาจให้กับข้าราชการทหาร ในการปราบปรามการกระทำผิดที่ระบุไว้ข้างต้น ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1). เรียกให้มารายงานตัว ส่งมอบเอกสาร หรือหลักฐาน ที่เกี่ยวกับการกระทำผิดข้างต้น ในกรณีที่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น มาตรา 44 กำหนดให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจกักตัวบุคคลดังกล่าวไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน ในที่ที่ไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง หรือเรือนจำ
ทั้งนี้ การขึ้นศาลทหาร จำกัดไว้เพียงบุคคลที่กระทำผิดต่อความมั่นคงของประเทศเท่านั้น
2). จับกุมได้ทันทีเมื่อทำความผิดข้างต้นแบบซึ่งหน้า และนำส่งเจ้าพนักงานสืบสวนให้ดำเนินการต่อไป
3). มีอำนาจตามกฎหมายในการเข้าไปร่วมสืบสวน โดยให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ทหารเป็นพนักงานสอบสวนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
4). ตรวจค้นตัวบุคคล ที่อยู่อาศัย หรือยานพาหนะของบุคคลใดก็ตามที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิดที่ได้ระบุไว้ข้างต้น โดยไม่ต้องขอหมายค้นจากศาล
5). เจ้าหน้าที่ทหารมีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์ที่พบจากข้อ 4)
6). เจ้าหน้าที่ทหารมีอำนาจทุกประการ หาก คสช. มอบหมายให้ทำ หรือก็คือมีอำนาจหน้าที่แบบครอบจักรวาลนั่นเอง
มาตรา 44 ยังระบุว่า คสช. มีอำนาจออกคำสั่งห้ามสื่อนำเสนอข่าวอะไรก็ตามที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ภายใต้อำนาจนี้ สื่อที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล อาจจะมีความผิดตามกฎหมายได้ หาก คสช. เห็นว่าส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของขาติ
นอกจากนี้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ทหาร ถือเป็นความผิดตามมาตรา 44 มีโทษจำคุก และปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ