เอไอเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกาศวิสัยทัศน์ปี 2017 พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ผ่านแนวคิด “AIS Digital For Thais” (เอไอเอส ดิจิทัล ฟอร์ ไทย) เตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งเครือข่าย Mobile Super Wifi (โมบาย) และ Fixed Broadband (ฟิกซ์ บรอดแบนด์)เสริมความแข็งแกร่งผนึกความร่วมมือกับพันธมิตร หนุนการนำดิจิทัลส่งเสริมการทำงานของภาครัฐ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้เข้มแข็ง
นายอุดมศักดิ์ โสมคำ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “รัฐบาลได้ประกาศนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0ภายใต้แนวทางสานพลังประชารัฐ โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ไปส่งเสริมศักยภาพการทำงาน รวมถึงสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการต่างๆของภาครัฐ เอไอเอส ในฐานะ Digital Life Service Provider ซึ่งให้บริการด้านเครือข่าย การให้บริการดิจิทัล จึงพร้อมที่จะประกาศยืนยันว่า ในปี 2560 เราจะร่วมทำงานกับภาครัฐในการมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปสนับสนุน เสริมความแข็งแรงในรากฐานหลักของประเทศ สร้างโอกาสทางการเข้าถึงและความเท่าเทียมกันของเทคโนโลยีไปสู่ประชาชน ผ่านแนวคิด “AIS Digital For Thais” ที่นำดิจิทัลเข้าไปเพิ่มศักยภาพและสร้างการเติบโต สู่ประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายรัฐบาล”
การที่ประเทศจะไปสู่ดิจิทัลได้นั้นจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ด้านเครือข่ายการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ภายหลังจากการประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ชาวเอไอเอสมุ่งมั่นทำงานอย่างหนักเพื่อพัฒนาเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ด้วยระยะเวลาเพียง 300 วันเท่านั้น วันนี้เครือข่าย AIS 4G จึงก้าวสู่เครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด ครอบคลุมแล้วถึงกว่า 98% ของพื้นที่ประชากร โดยขณะนี้ เอไอเอสมีลูกค้ารวมทั้งหมด 41 ล้านราย โดยยังคงครองส่วนแบ่งการตลาดที่ 49.5% (ตัวเลข ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี พ.ศ.2559)
การที่เอไอเอสมีคลื่นที่หลากหลายจากการประมูล ย่อมนำมาซึ่งความพร้อมในการต่อยอด สู่เทคโนโลยี IoT ที่เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ จุดประกายในการพัฒนาบริการสาธารณะต่างๆ พร้อมก้าวสู่ Smart City อย่างเต็มรูปแบบวันนี้เครือข่ายเอไอเอสจึงเป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เปิดตัว เครือข่าย Narrowband IoT มาตรฐานระดับโลก ที่จะรองรับการใช้งานอุปกรณ์ IoT ต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ เอไอเอส ยังได้นำนวัตกรรมระดับโลกเข้ามาเสริมขีดความสามารถเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเครือข่าย4.5G ครั้งแรกในโลก ซึ่งได้มีการประกาศตั้งแต่ต้นปี 2559 จนได้รับการรับรองจาก OOKLA Speed test ว่าเอไอเอสเป็นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เร็วที่สุดในประเทศไทย
นอกจากนั้น Qualcomm ผู้ผลิตชิพเซ็ตระดับโลกได้ทำการทดสอบและรับรองว่า เครือข่ายของ เอไอเอสมีความเสถียรและสนับสนุนการใช้งานของ Smart Phone รุ่นใหม่ๆที่ดีที่สุด พร้อมทั้งเป็นเครือข่าย 4G Roaming ที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ในเอเชีย (182 ผู้ให้บริการใน 150 ประเทศ)
“สำหรับภาพรวมการใช้งานอินเทอร์เน็ตในปี 2560 เราเชื่อว่าจะเติบโตถึง 300% โดยตลาดที่เติบโตมากที่สุดคือ Fixed Broadbandและกลุ่มการใช้งานของอุปกรณ์ IoT ที่เข้ามาในตลาดอย่างชัดเจน อาทิ Wearable, Machine2Machine ซึ่งถือว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนในการสร้างโอกาสใหม่ๆ ยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจและการใช้ชีวิตของคนไทยไปอีกขั้น ทั้งนี้เราคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะทำให้อุตสาหกรรมหลักแต่ละด้านเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากการขยายตัวเข้าถึงทุกพื้นที่ของ Digital Infrastructure 3 ส่วนหลัก คือ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง, สมาร์ทโฟนที่เติบโตมากกว่า 70 ล้านเครื่อง และ IoT มากกว่า 20 ล้านรูปแบบ”
“โดยเมื่อปีที่ผ่านมา ลูกค้าเอไอเอสนั้น มียอดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านมือถือสูงถึง 24 ล้านราย ในจำนวนนี้ 12 ล้านราย ใช้งานผ่านมือถือ 4G และใช้อินเตอร์เน็ตวันละ 6 ชั่วโมง โดยพบว่ามีการชมวีดีโอถึง 10 ล้านคลิปต่อวัน รวมถึงอัพโหลดภาพวันละ 1.8 ล้านภาพ”
สำหรับแผนงานในปี 2560 นั้น “เรายังคงเดินหน้าขยายความครอบคลุมทั้งแนวกว้างและแนวลึก ในลักษณะของ In building coverage โดยเครือข่ายของเอไอเอสทั้งหมด จะก้าวไปอีกขั้น (Next Generation Network) สู่ “เครือข่ายดิจิทัล ที่รองรับการใช้งานระดับกิกะบิท (Gigabit Network)” เป็นครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในส่วนของเครือข่ายไร้สายนั้น ด้วยเทคโนโลยีล่าสุด Multipath TCP ทำให้เพิ่มความเร็วได้ถึง 10 เท่าของเครือข่าย LTE และ เร็วขึ้นอีก 4 เท่าของเครือข่าย Tri Band LTE Advanceสำหรับเครือข่าย AIS Wifi ก็จะก้าวสู่ Gigabit Super Wifi เช่นกัน (ด้วยมาตรฐาน 802.11 ac Wave 2) และแน่นอนว่า เครือข่าย AIS Fibre ก็จะพร้อมรองรับการใช้งานได้ถึง 10 กิกะบิทด้วยเช่นกัน”
ซึ่งขณะนี้ เอไอเอส ไฟเบอร์ ได้ขยายโครงข่ายผ่านไปยังชุมชนแล้วมากกว่า 5 ล้านครัวเรือน โดยมีปริมาณลูกค้าใช้งาน ณ สิ้นปี 59 อยู่ที่ 3 แสนราย และเพิ่มขีดความสามารถในการติดตั้งได้ใกล้เคียงกับผู้ให้บริการรายเดิม แม้จะเปิดให้บริการมาเพียง 2 ปีเท่านั้น
เมื่อโครงข่ายมีขีดความสามารถรองรับการใช้งานระดับกิกะบิท คือ สามารถส่งข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว เราจึงพร้อมตอบสนองความต้องการผู้ใช้บริการในยุคปัจจุบันด้วยคลังวีดีโอ คอนเท็นต์ จากสุดยอดพาร์ทเนอร์ตัวจริง ทั้งในและต่างประเทศ ผ่านแอปพลิเคชัน AIS Play บนมือถือ และกล่อง AIS Play Box จากอินเทอร์เน็ตบ้าน โดยพร้อมเปิดตัวเป็นครั้งแรกเพื่อคนไทยกับ ช่อง FOX Networks, HBO, NBA รวมไปถึงอุปกรณ์ Chromecast ที่เชื่อมต่อกับมือถือหรือแท็บเล็ตขึ้นสู่จอทีวี ซึ่งจะทำให้โลกแห่งการชมวีดีโอคอนเท็นต์ไร้ขีดจำกัดอีกต่อไป
สำหรับภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศนั้น เอไอเอส ได้ร่วมมือกับไมโครซอฟท์ ยกระดับ AIS Business CLOUD ด้วยมาตรฐานระดับโลกเข้าสู่ประเทศไทย เป็นครั้งแรกเพื่อ ตอบสนององค์กรทุก ขนาด ทุกอุตสาหกรรม เสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันและปรับตัวสู่ธุรกิจดิจิทัล อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
นอกจากนี้ แผนงานในปี 2560 ที่เอไอเอสวางวิสัยทัศน์ไว้อีกส่วนหนึ่งก็คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมายกระดับรากฐานหลักของประเทศ ภายใต้แนวคิด Digital For Thais เพื่อร่วมกับภาครัฐในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยใน 4 ด้านหลักๆ คือ
1) ด้านเกษตรกรรม และผู้ประกอบการ OTOP : เอไอเอส ร่วมกับทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ภายใต้ความร่วมมือกันในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์กับกลุ่มเป้าหมายวิสาหกิจชุมชน,OTOPและ SMEs โดยได้รับการสนับสนุนในด้านฐานข้อมูลผู้ประกอบการOTOP ที่เชื่อมโยงผ่านระบบ Channel Management System ที่พัฒนาขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เชื่อมต่อกับ E-Marketplace ของเอไอเอส นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด ยกระดับการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพของเกษตรกรและผู้ประกอบการ OTOP ผ่านแอปพลิเคชัน “ฟาร์มสุข” เพื่อเพิ่มรายได้ด้วยการสร้างช่องทางในการซื้อ-ขายสินค้าและลดรายจ่าย ด้วยข้อมูลจากคลังความรู้ทางด้านภูมิปัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำการเกษตรจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ รวมทั้งเพิ่มมูลค่าของสินค้า ด้วยข้อมูลการเพาะปลูกจากอุปกรณ์ IoT, ความรู้ด้านบรรจุภัณฑ์ และการสร้างความแตกต่างให้สินค้า พร้อมทั้งยังช่วยให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบาย และมั่นใจในสินค้าที่ได้รับอีกด้วย
2) ด้านสาธารณสุข : เอไอเอสต้องการยกระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณสุข และสุขภาพของคนไทย โดยเน้นความทั่วถึง ความมีคุณภาพ และประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณสุข โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค มากกว่าเมื่อเจ็บป่วยแล้วจึงมารักษา จึงจัดทำแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์เป็น แอปฯที่ออกแบบมาเพื่อให้เป็นเครื่องมือสื่อสารสำหรับการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขชุมชนเชิงรุกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่นั้นๆ โดยแอปฯ อสม.ออนไลน์ เปิดใช้งานตั้งแต่ปลายปี 2558 มีรพ.สต.ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 27 แห่ง จนถึงปัจจุบัน มีรพ.สต.จำนวน88 แห่งทั่วประเทศ นำไปใช้ในการส่งเสริมศักยภาพสาธารณสุขชุมชน และในปีนี้จะเร่งขยายการเปิดใช้งานในชุมชนที่อยู่ใกล้บริเวณสถานีฐาน ซึ่งคาดว่าในปี 2562 รพ.สต.จะใช้ แอปฯอสม.ออนไลน์ กันอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงแพทย์ และการดูแลสุขภาพได้อย่างสะดวกและง่ายยิ่งขึ้นผ่านแอปพลิเคชันพบหมอ
3) ด้านการศึกษา : เอไอเอสยังให้ความสำคัญกับการจัดทำโครงการเพื่อสังคมด้านการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ในโครงการ“สานรัก คนเก่งหัวใจแกร่ง” ซึ่งเป็นโครงการที่เอไอเอสจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2544 ด้วยการมอบโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนไทยที่มีความประพฤติดี แต่ขาดโอกาสโดยการมอบทุนการศึกษาจนจบในระดับปริญญาตรี รวมถึงมอบอุปกรณ์การกีฬาให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 17 ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย “Thailand 4.0” เอไอเอสจึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการศึกษา โดยจัดทำโครงการสานรัก สานความรู้ ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสการเข้าถึงแหล่งข้อมูล สาระ ความรู้ให้แก่เยาวชนไทยทุกคน ด้วยการติดตั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และ AIS PLAYBOX รุ่นพิเศษที่มาพร้อมกับเนื้อหาที่เกี่ยวกับการศึกษา, สาระความรู้และสารคดี อาทิ DLTV, National Geographic, Edutainment VOD รวมถึง สารคดีชีวิตสัตว์ป่าและธรรมชาติที่หลากหลาย ฯลฯ ให้กับโรงเรียนของน้องๆคนเก่งหัวใจแกร่ง และโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ จำนวน 300 โรงเรียน โดยในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเป้าหมายในการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว ในพื้นที่ 16 จังหวัด จำนวน 47 โรงเรียน เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ในการเรียนรู้แก่เยาวชนไทย ให้ได้ประโยชน์จากองค์ความรู้ ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลก รวมถึงความร่วมมือกับบริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ในการนำเนื้อหาความรู้ที่เป็นประโยชน์กับคุณครูเข้ามาพัฒนาองค์ความรู้ในการสอนหนังสือให้กับนักเรียนด้วย
4) ส่งเสริม Start Up (ผู้ประกอบการยุคดิจิทัล) : AIS D.C. Designed For Creation เอไอเอสเล็งเห็นความสำคัญของการต่อยอดองค์ความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ จึงเปิดสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของกลุ่มครีเอเตอร์ให้มีพื้นที่สร้างสรรค์และแบ่งปันแรงบันดาลใจ ร่วมกับ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ Thailand Creative & Design Center (TCDC) เพื่อเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้และเพิ่มขีดความสามารถของคนไทย ให้นำความสามารถนั้นไปต่อยอดในการพัฒนาประเทศ โดยภายใน AIS D.C. ประกอบด้วย บริการมากมายที่ตอบโจทย์กลุ่มครีเอเตอร์รุ่นใหม่ รวมถึง AIS Playground ที่แรกในประเทศไทยที่ให้ StartUp ได้ทดสอบระบบเชื่อมต่อ API บน Product & Service ของตนเอง กับ AIS Digital Platform ที่รองรับการทำ Digital Business ที่หลากหลาย พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากเอไอเอสที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
โดยในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ AIS ได้ร่วมกับ Fixzy เป็นสตาร์ทอัพที่เชี่ยวชาญด้านการซ่อมบำรุง โดยได้พัฒนาแพลตฟอร์มดูแลบ้านโดยเปิดแอปรวมช่างต่างๆ เช่น ช่างไฟ ช่างประปา ช่างก่อสร้าง รวมไปถึงแม่บ้าน เข้ามาไว้ด้วยกัน ซึ่ง Fixzy เป็นทีมสตาร์ทอัพรุ่นพี่จากโครงการ AIS Start Up ที่ประสบความสำเร็จและมีประสบการณ์ในการทำตลาดระดับภูมิภาค รวมทั้งช่วยจุดประกายและเปิดมุมมองทางธุรกิจให้แก่คนรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งตอนนี้ Fixzy ให้บริการครอบคลุม กทม. ปริมณฑล ขอนแก่น ชลบุรี พัทยา สุพรรณบุรี เชียงใหม่ โดยเฉพาะที่ขอนแก่น ซึ่งได้ร่วมมือกับ บริษัท อิสานพิมาน ซึ่งใช้ระบบ Backend ของ Fixzy ในการบริการจัดการงานซ่อมและช่างในโครงการ ซึ่งให้บริการกว่า 10,000 หลังคาเรือนทุกโครงการ
นอกจากนี้ ยังได้มีการให้ข้อมูลความรู้และการจัดทำ workshop ให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการทำ E-commerce clinic by AIS ซึ่งจะเปิดให้คำปรึกษาด้านการทำธุรกิจ Online ในระดับภูมิภาค
นี่คือความมุ่งมั่นในการนำขีดความสามารถทั้งแรงกาย แรงใจ และองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของชาวเอไอเอสทุกคน ไปร่วมสนับสนุนภาครัฐเพื่อยกระดับ Digital Infrastructure ของประเทศ ให้มีความแข็งแกร่ง พร้อมที่จะเข้าไปเชื่อมโยงและพัฒนาประเทศอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม พร้อมก้าวสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายของรัฐต่อไป”