ดีแทคและเทเลนอร์ร่วมเรียกร้องให้เด็กและเยาวชน “STOP Cyberbullying หยุดดู หยุดแชร์ หยุดรังแก บนโลกออนไลน์”ร่วมทำกิจกรรมกับเด็กและผู้ปกครองกว่า 60,000 คนใน 13 ประเทศในหนึ่งวัน
การสื่อสารดิจิทัลเปิดโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้กับทุกคน ทำให้โลกทั้งโลกมาอยู่ที่ปลายนิ้ว แต่ขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งความเสี่ยงและภัยคุกคามที่คาดไม่ถึง ดังนั้นดีแทคพร้อมกับบริษัทในเครือเทเลนอร์กรุ๊ปใน 13 ประเทศได้ร่วมกันผนึกกำลังช่วยสร้างสังคมดิจิทัลเข้มแข็งและความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ โดยพนักงานกว่า 20,000 คนจะออกไปร่วมทำกิจกรรมกับเด็กและพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อร่วมกันรณรงค์เพื่อต่อสู้กับการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์
จากผลการสำรวจภายใต้โครงการ Safe Internet ซึ่งเทเลนอร์ได้จัดทำขึ้นในช่วงปลายปี 2015 ถึงต้นปี 2016 ที่ผ่านมานั้น พบว่าในทวีปเอเชียมีจำนวนการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์สูงมาก โดย 49% ของนักเรียนในบังกลาเทศ 37% ของนักเรียนในมาเลเซีย และ 33% ของนักเรียนในประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ ‘ถูกกลั่นแกล้งหรือคุกคามบนโลกออนไลน์’ ‘ถูกรักแกโดยบุคคลคนเดียวกันทั้งบนโลกออนไลน์และโลกแห่งความจริง’ รวมถึง ‘เคยมีส่วนร่วมในการกลั่นแกล้งรังแกคนอื่นบนโลกออนไลน์’
ซิคเว่ เบรคเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “การสื่อสารดิจิทัลและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตช่วยสร้างโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้กับผู้คน ธุรกิจและสังคม อย่างไรก็ตาม อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีแต่ด้านดีเท่านั้น มันยังนำมาซึ่งภัยคุกคามที่บรรดาเด็กและเยาวชนจะต้องเผชิญหน้าด้วย เราเชื่อว่าการให้ความรู้และสร้างความตระหนักถึงภัยออนไลน์ให้กับเด็กแต่เนิ่นๆ จะทำให้พวกเขาใช้งานได้อย่างชาญฉลาดและปลอดภัยบนโลกออนไลน์ ในฐานะที่เราเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตระดับโลก มันคือความรับผิดชอบของเราอย่างแท้จริง”
เพื่อที่จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทวีปเอเชีย เทเลนอร์กรุ๊ปได้จัดกิจกรรมประจำปีเพื่อให้บรรดาลูกค้าได้ร่วมแสดงพลังในการยืนหยัดต่อสู้กับภัยออนไลน์ โดยในวันงาน พนักงานเทเลนอร์กรุ๊ปกว่า 20,000 คนใน 13 ประเทศจะออกเยี่ยมโรงเรียนและสถานที่สาธารณะต่างๆ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยให้แก่นักเรียนและผู้ปกครองกว่า 60,000 คน โดยกิจกรรมที่จะถูกจัดขึ้นในยุโรปและเอเชียประกอบไปด้วยเวิร์คชอปตามโรงเรียนและห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงกิจกรรมขนาดใหญ่ที่จัดขึ้นร่วมกับพันธมิตรและผู้มีชื่อเสียงในการร่วมรณรงค์การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
เทเลนอร์ยังจะจัดกิจกรรมในระดับวงกว้างเพื่อให้ประชาชนทั่วไปในเอเชียได้เข้ามาร่วมกันลงคำมั่นสัญญาเพื่อร่วมต่อต่านการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ และเพื่อที่จะเผยแพร่ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการสังเกตพฤติกรรมของภัยคุกคามออนไลน์ที่กำลังแพร่หลายอย่างรวดเร็วในเวลานี้
ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่า การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์เป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังลุกลามในประเทศไทยและนานาประเทศในเอเชีย หากแต่ความตระหนักถึงอันตรายของมันยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่งก็คือการที่โทรศัพท์มือถือได้กลายมาเป็นอุปกรณ์หลักของเด็กและเยาวชนในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้เป็นการยากที่ผู้ปกครองจะรู้ว่าลูกของพวกเขาใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างไรบ้าง ด้วยเหตุนี้ การให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครองเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ปณิธานที่แน่วแน่ของดีแทค คือ การดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Responsible Business) ที่ขณะนี้กำลังก้าวสู่การเป็นสังคมดิจิทัล (Digital Society) อย่างเต็มตัว ภายใต้โครงการSafe Internet ที่มุ่งเน้นการให้ความรู้เท่าทัน การเสริมสร้างทักษะ การสร้างจิตสำนึกในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมไปถึงเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นสังคมให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเรื่องการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลกที่นานาประเทศให้ความสำคัญ จนได้ร่วมกันจัดตั้งวันต่อต้านการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ (STOP Cyberbullying Day) นั่นจึงเป็นแรงผลักดันให้ดีแทค เริ่มเดินหน้าทำโครงการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมาดีแทคได้เน้นเรื่องของความให้ความรู้เป็นหลัก แต่แค่ความรู้คงไม่เท่าการกระทำ ในปีนี้จึงได้จัดแคมเปญรณรงค์ภายใต้ชื่อ “ใช้หัวคลิก” รณรงค์เพื่อหยุดรังแกกันบนโลกออนไลน์ เพื่อกระตุ้นให้คนไทยในโลกออนไลน์ลุกขึ้นมาแสดงสัญลักษณ์ในการต่อต้านปัญหานี้ด้วยกัน.
dtac and Telenor Group ask kids and youth to “STOP Cyberbullying, Be Smart – Use Heart” online
Reaching out to 60,000 children and parents across 13 markets in one day
Digital communications open massive opportunities to people everywhere. But as the world is at our fingertips, so are risks of unwanted attention. Today, dtac concerting with other 13 markets in Telenor Group in putting digital resilience and online safety on the agenda as 20,000 employees reach out to children and parents to combat digital bullying.
Telenor’s own Safe Internet studies conducted in late 2015 and early 2016 found a high incidence of cyberbullying in its Asian markets, with 49% of school students in Bangladesh, 37% of Malaysian and 33% of Thai students having experienced either ‘being bullied or disturbed online’, ‘being bullied by the same person both online and offline’ or even having actually engaged in the act of bullying others online.
Sigve Brekke, President & CEO of Telenor Group, said, “Digital communication and internet access create enormous opportunities for people, business and society. However, the internet does not only connect people with good intentions and this is unfortunately a reality that children can face. We believe it’s important to educate and raise awareness early on so that young people can make wise online choices and be safe online. As a global mobile and Internet provider, it is also our responsibility to address this.”
To highlight the rise of digital bullying in Asia and as part of its focus on providing Safe Internet for All, Telenor Group is centering its annual day dedicated to customers around taking a stand against digital bullying. During the day, 20,000 Telenor employees in 13 countries will visit schools and public arenas to inform and engage more than 60,000 children and parents in Safe Internet use. Events in Europe and Asia range from workshops at local schools and shopping malls, to larger gatherings together with partners and celebrity Safe Internet supporters.
Across its Asia markets, Telenor will also be holding mass events where concerned members of the public can sign pledges against cyberbullying, as well as obtain more information on spotting the signs of this increasingly pervasive threat.
Lars Norling, CEO of dtac, said, “Digital bullying is a challenge that manifests itself in Thailand and other markets in Asia but the awareness level is not unsatisfactory. A key factor is that the mobile phone has increasingly become children’s primary access point to the internet, making it harder for parents to know what their kids do online and underlining the importance of equipping children as well as parents with Safe Internet knowledge.”