28 March 2024


โคราชเร่งสอบสาเหตุหญิงชาวปักธงชัย เลือดออกสมองอาการโคม่าหลังรับวัคซีนป้องกันโควิด-19ได้ 2 วัน

Post on: Jun 2, 2021
เปิดอ่าน: 566 ครั้ง

 

โคราชฉีดวัคซีนทะลุ 100,000 ราย  เร่งสอบหญิงเส้นเลือดสมองแตกอาการโคม่าหลังรับวัคซีนได้ 2 วัน ยอดผู้ป่วยลด

วันนี้  ( 1 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ 32 อำเภอ ของจังหวัดนครราชสีมา พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม  2   ราย เป็นชาว อ.ปากช่องทั้ง 2 ราย โดยผู้ป่วยทำงานในพื้นที่เสี่ยง (CPF แก่งคอย จ.สระบุรี) รวมผู้ป่วยสะสม  941 ราย รวมหายป่วยสะสม 780 ราย รวมเสียชีวิตสะสม11 ราย คงเหลือรักษาตัว  150 ราย

ขณะนี้ประชาชนบุคลากรทางการแพทย์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้วตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย. -1 มิ.ย.2564 จำนวน 122,374 ราย พบอาการไม่พึงประสงค์ 13,248 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.83  เช่น ปวดศรีษะ เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีด ไข้  คลื่นไส้ ท้องเสีย ผื่น ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาเจียน  พบอาการไม่พึงประสงค์ที่ต้องรับการรักษาต่อใน รพ. 143 ราย ผู้ป่วยนอก 124 ราย ผู้ป่วยใน 19 ราย  รับการรักษาใน รพ.จำนวน 9 ราย และ มีอาการหนักจำนวน 3 ราย สรุปโดยรวมจะพบอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนผู้ที่เข้ารับการรักษาใน รพ.นั้น หลังจากนอนพักรักษาได้ประมาณ 3-4 วัน ก็สามารถกลับบ้านได้

ขณะที่ รพ.มหาราชนครราชสีมา   รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโควิดที่เข้ารับการรักษาใน รพ.มหาราชนครราชสีมา จำนวน 49 ราย ปอดอักเสพรุนแรง 3 ราย มีอาการรุนแรงต้องใช้เครื่องช่วยเหลายใจ 5 ราย อาการปานกลาง 10 ราย เล็กน้อย 34 ราย และเตียงว่าง 67 เตียง

ส่วนผู้ป่วยที่น่าสนใจพบมีอาการเส้นเลือดสมองแตกหลังฉีดวัคซีนได้ 2 วันนี้ จากการตรวจสอบไทม์ไลน์พบว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าว อายุ 29 ปี เป็นเพศหญิง เข้ารับการฉีดวัคซีน Sinovac ที่ศูนย์การค้าเดอะมอลล์นครราชสีมา เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2546 จากการรอสังเกตอาการไม่พบความผิดปกติเกิดขึ้น ต่อมาวันที่ 26 พ.ค. 2546 ผู้ป่วยไปเดินซื้อของในตลาด มีอาการปวดศรีษะ เป็นลมหมดสติ เข้ารักษาที่ รพ.ปักธงชัย พบว่าเส้นเลือดสมองแตก จากนั้น 2 ชม.ส่งต่อมารักษาที่ รพ.มหาราชนครราชสีมา จากการตรวจพบเลือดออกในโพรงสมอง  คนไข้ไม่รู้สึกตัว และ แพทย์ได้ทำการผ่าตัดนำเลือดออกจากสมอง ขณะนี้เป็นวันที่ 4 แล้ว ผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัว ซี่งทางแพทย์ได้พูดคุยกับญาติและญาติเข้าใจดี จากการตรวจอาการไม่พบความเชื่อมโยงกับการฉีดวัดซีนและจากการศึกษาเคสผู้ป่วยจากต่างประเทศยังไม่เคยพบว่ามีเคสลักษณะนี้

ด้าน นพ.นรินทร์รัตน์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา  กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นทางทีมสอบสวนโรคร่วมกับคณะแพทย์ยังคงค้นหาสาเหตุที่แท้จริง เนื่องจากว่า กรณีเคสผู้ป่วยรายนี้คาดว่าจะเป็นอาการป่วยตั้งแต่กำเนิด แต่ไม่แสดงอาการ  คนไข้จึงไม่รู้ตัวมาก่อน บางรายก็มาแสดงอาการตอนโต แต่รายนี้เป็นการประจวบเหมาะกับรับวัคซีนมา เราจึงต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจน จากนี้ทีมแพทย์ รพ.มหาราชนครราชสีมา จะทำงานร่วมกับทีมควบคุมโรคจากกรมควบคุมโรคในการตรวจสอบรายลเอียดเพื่อให้ได้ความชัดเจนต่อไป