18 April 2024


ซ้ำเติม! โรคใบด่างระบาดมันสำปะหลังโคราชกว่า 6,000 ไร่ เกษตรกรจำใจถอนทิ้งทั้งน้ำตา

Post on: Sep 5, 2019
เปิดอ่าน: 474 ครั้ง

 

โรคใบด่างมันสำปะหลังโคราชระบาด 7 อำเภอ 77 หมู่บ้านกว่า 6,000 ไร่ ชาวบ้านผู้ปลูกมันฯจำใจถอนต้นมันกำจัดโรคทั้งน้ำตา แทบหมดตัว ไม่เคยเกิดขึ้นในรอบ 40-50 ปี ครั้งแรก อ.เสิงสาง

เมื่อช่วงบ่ายของวันนี้( 4 กันยายน 2562) ที่แปลงปลูกมันสำปะหลัง บ้านดอนไร่ หมู่ 12 ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานเปิดงานวันรณรงค์สำรวจและป้องกัน กำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง โดยมีนายกฤษฏ์หิรัญ หวังศุภกิจโกศล ประธานชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อ.เสิงสางฯ พร้อมด้วยนายกังสดาล สวัสดิ์ชัย เกษตรจังหวัดนครราชสีมา , นายศารุมภ์ โหม่งสูงเนิน พาณิชย์จังหวัดนครราชสีมา เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง อ.เสิงสางฯ ผู้ประกอบการโรงงานแป้งมัน และตัวแทนผู้ประกอบการโรงงานแป้งมันสำปะหลัง พนักงานกว่า 100 คน ร่วมกันกำจัดต้นมันสำปะหลังที่ติดโรคใบด่างในแปลงปลูกมันสำปะหลังจำนวน 10 ไร่ของนายประดับ เชิดรุ่งเรือง อายุ 52 ปี โดยมีการใช้รถแบ็คโฮทำการขุดหลุมลึกประมาณ 5 เมตรเพื่อฝังกลบ และมีการใช้เครื่องบดทำลายต้นมันสำปะหลัง โดยโรคใบด่างมันมำปะหลังมีการระบาดในพื้นที่ 7 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เสิงสาง , อ.หนองบุญมาก , อ.ครบุรี , อ.โชคชัย , อ.ปักธงชัย , อ.เมืองนครราชสีมา และ อ.จักราช เสียหายกว่า 6,000 ไร่

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา กล่าวว่า เราพบมีการระบาดใน 7 อำเภอ 77 หมู่บ้านกว่า 6 พันแปลง แต่การระบาดจะระบาดละไม่มากนัก แปลงละ 2-3 ต้น-10 ต้น ยกเว้นแปลงที่เราทำลายมีกรรระบากมากที่สุด อีกทั้งเกิดฝนตกลงมาด้วย ทั้งนี้เราพบตามแปลงต่างๆหลายอำเภอโดยมีการกำจัดไปบ้างแล้วกว่า 4 พันไร่ และในจำนวนนี้มีการทำลายทั้งแปลงที่จะต้องมีการขอชดเชยไปแล้ว 152 ไร่ และจะมีการเอาเข้าที่ประชุมเพิ่มเติมอีก 60 ไร่ โดยมีการทำลายทั้งแปลงประมาณ 300 ไร่ที่จะมีการขอชดเชยตามระเบียบของกระทรวงพาณิชย์ไร่ละไม่เกิน 3 พันบาท อย่างไรก็ตามการรณรงค์ทำลายกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลังเราจะต้องมีการสร้างความเข้าใจกับเกษตรกร และ จ.นครราชสีมาจะต้องมีระบบการตรวจแปลงเป็นประจำ โดยเราจะต้องดีเดย์พร้อมกันทุกอำเภอที่มีการระบาดอยู่ขณะนี้เดือนละอย่างน้อย 1 ครั้งโดยเกษตรกรเอง ขณะเดียวกันเรื่องการควบคุมท่อนมันสำปะหลังจากแปลงที่พบการระบาดของโรคใบด่างจะต้องมีการเข้มงวดตามด่านตรวจต่างๆ จะต้องควบคุมไม่ให้มีการขนย้ายจากแปลงที่พบใบด่างเป็นอันขาด ส่วนกรณีผลผลิตหัวมันสำปะหลังถ้าอายุต่ำกว่า 4 เดือนมีปัญหาเรื่องหัวมันฯขนาดเล็กไม่ได้ราคาถ้าอายุไม่เกิน 4 เดือนทางราชการจะชดเชยไร่ละไม่เกิน 3 พันบาท กรณีเป็นไร่และมีเชื้อแป้งทางโรงงานแป้งมันฯก็รับปากว่าจะช่วยรับซื้อ  แต่ถ้ามันฯต้นไม่ถึงไร่ไม่มีการชดเชย

นายประดับ เชิดรุ่งเรือง อายุ 52 ปี กล่าวว่า ตนเช่นที่ดินแปลงปลูกมันฯ 10 ไร่ อายุมันประมาณ 3 เดือน ถ้าโรงงานฯช่วยก็ขายได้ แต่ถ้าเขาไม่ช่วยก็ขายไม่ได้ ซึ่งโรคใบด่างที่นี่ไม่เคยระบาดมาในรอบ 40-50 ปีแล้ว เพิอ่งจะมาระบาดในช่วงปีนี้ เฉพาะ 10 ไร่ของตนระบาดเป็นปีแรก เท่าที่ตรวจสอบหัวมันฯก็ได้บ้าง แต่ได้น้อย หัวมันฯเล็กมาก เชื้อแป้งแทบไม่มี  ตนลงทุนหมดไป 5 หมื่นบาท ต้นพันธุ์ต้นละ 2 บาท ต้องไถปรับดิน 2 ครั้ง พอมาเจอโรคใบด่างจำใจตั้งน้ำตาต้องทำลายหมด และฝังดิน จากนี้ไปก็ไม่รู้จะทำมาหากินอย่างไร ก็คงต้องรอคอยความช่วยเหลือจากทางราชการก่อน