6 May 2024


ซินโครตรอนรุกขยายกลุ่ม เปิดเวทีรับฟังกลุ่มผู้ใช้บริการหวังปรับปรุงให้ตอบสนองความต้องการได้สูงสุด

Post on: Jul 26, 2023
เปิดอ่าน: 134 ครั้ง

 

เปิดเวที AUM2023 รับฟังเสียงกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดการประชุมกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน ครั้งที่ 11เพื่อรับฟังเสียงจากกลุ่มผู้ใช้สำหรับนำไปปรับปรุงการให้บริการ และมอบรางวัลงานวิจัยดีเด่น SLRI Awardประจำปี 2564 และ 2565 แก่นักวิจัยผู้ใช้แสงซินโครตรอนพร้อมทั้งจัดบรรยายพิเศษโดยผู้เชี่ยวชาญซินโครตรอนจากเกาหลีใต้

เมื่อวันที่  21 กรกฎาคม 2566 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนได้จัดการประชุมกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน ครั้งที่ 11 ประจำปี 2566 หรือ AUM2023 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศลพญาไท กรุงเทพฯ เพื่อให้ผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอน จากภาควิชาการและภาคอุตสาหกรรมในประเทศได้นำเสนอผลงานวิจัยจากการใช้ประโยชน์แสงโครตรอน พร้อมทั้งรับทราบรายงานสถานะปัจจุบัน อนาคตและนโยบายการให้บริการผู้ใช้แสงซินโครตรอนจากนักวิจัยของสถาบันฯการประชุมครั้งนี้ได้ระดมความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน

เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงงานตามผลสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการและมีการรายงานสถานะของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน SPS-1 ซึ่งเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนที่ให้บริการในปัจจุบันกับความก้าวหน้าในการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 (GeV)ซึ่งเป็นเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนเครื่องที่ 2ของไทยที่จะสร้างขึ้นในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จ.ระยอง ในอนาคตด้วยโอกาสนี้สถาบันฯ ได้เชิญ ศ.ดร.มุนฮอ รี (Prof.Dr.Moonhor Ree) จากสถาบันเทคโนโลยีพื้นผิวเซโก (Ceko Surface Technology Institute) และห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอนุภาคโพฮัง (Pohang Accelerator Laboratory)เกาหลีใต้ มาบรรยายพิเศษภายในงานประชุมเกี่ยวกับวิทยาการด้านซินโครตรอนในวัสดุอุตสาหกรรมและการบรรยายพิเศษโดย ศ.ดร.นราธิป วิทยากร จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ได้รับSLRI Award ประจำปี พ.ศ.2564 และ รศ.ดร.สุวัตร นานันท์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ได้รับ SLRI Awardพ.ศ.2564

นอกจากนี้ รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้มอบรางวัล SLRI Awardแก่นักวิจัยผู้ใช้แสงซินโครตรอนใน 2 สาขา คือ 1. ผลงานวิจัยดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ประจำปี พ.ศ.2564ได้แก่ ศ.ดร.นราธิป วิทยากร จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและผลงานวิจัยดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ประจำปี พ.ศ.2565 ได้แก่ รศ.ดร.วรชาติ วิศวพิพัฒน์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2. ผลงานวิจัยดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ ประจำปี พ.ศ.2564 ได้แก่ รศ.ดร.สุวัตรนานันท์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และผลงานวิจัยดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ ประจำปี พ.ศ.2565 ได้แก่ ดร.ณัฐวุฒิ โอสระคู จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อีกทั้งได้มอบรางวัล “โปสเตอร์ดีเด่น ประจำปี 2566”สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมที่นำเสนอผลงานวิจัยจากการประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนแบบโปสเตอร์

ป้ายกำกับ: