29 March 2024


เปิดยิบ! 7 โครงการสำคัญผู้ว่าฯ ชง “นายกตู่” ครม.สัญจรนครชัยบุรินทร์ รวมมูลค่ากว่า 3,350 ล.ดันโคราชสู่มหานครอีสาน

Post on: May 7, 2018
เปิดอ่าน: 1,147 ครั้ง

 

ผู้ว่าโคราชดัน 7 โครงการสำคัญพัฒนาจังหวัดสู่ความเป็นมหานคร ให้ ”นายก.ตู่”  ครม.สัญจรนครชัยบุรินทร์ที่บุรีรัมย์ รวมกว่า 3,350 ล.         

นายวิเชียร ผวจ นม1

วันนี้ ( 6 พ.ค. ) นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา เปิดเผยถึงการประชุม ครม.สัญจรกลุ่มนครชัยบุรินทร์ ที่ จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 7-8 พ.ค.นี้ ว่า จังหวัดนครราชสีมาพร้อมเสนอโครงการสำคัญในการพัฒนาจังหวัดสู่ความเป็นมหานคร 7 โครงการมูลค่ากว่า 3,300 ล้านบาท ดังนี้

1.โครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและจัดแสดงนิทรรศการภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับสองของประเทศ โดยตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และความสำคัญทางประวัติศาสตร์ นับได้ว่าเป็นจังหวัดศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญ หรือเป็นประตูสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและนับเป็นศูนย์กลางทางด้าน การคมนาคม อุตสาหกรรม การค้า ศูนย์ราชการ กองบัญชาการกองทัพ ศูนย์การศึกษา และ ศูนย์การบริการสาธารณสุข ที่สำคัญในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับภูมิภาคที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ยังขาดแคลนอยู่เป็นอย่างมาก คือ ศูนย์ประชุมและจัดแสดงนิทรรศการขนาดใหญ่ เพื่อรองรับการจัดการประชุม และการจัดแสดงนิทรรศการ แสดงสินค้าการเกษตรและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ระดับชาติ นานาชาติ และในส่วนภูมิภาคของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

โครงการนี้ได้เสนอให้มีการก่อสร้างศูนย์ประชุมและจัดแสดงนิทรรศการขนาดใหญ่ โดยใช้พื้นที่ 90 ไร่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมาสามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมต่างๆได้พร้อมกัน 15,000 คน โดยใช้งบประมาณ 1,200 ล้านบาท และมีระยะเวลาการดำเนินการก่อสร้าง 4 ปี เพื่อรองรับความต้องการของภาคส่วนต่างๆในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในการจัดงานพระราชพิธี และงานพิธีของรัฐที่สำคัญ รวมทั้งงานแสดงสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า 36กิจกรรม/ปีเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ไม่น้อยกว่า 9,000ล้านบาท/ปี

สำหรับรายละเอียดโครงการประกอบด้วย การจัดทำรายละเอียด ออกแบบทางวิศวกรรม ศึกษาผลกระทบโครงการด้านสิ่งแวดล้อม 25 ล้านบาท จัดหาคู่สัญญา จัดสร้างอาคาร สิ่งก่อสร้างและระบบสาธารณูปโภค 1,000 ล้านบาทจัดหาครุภัณฑ์ และอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ 175 ล้านบาท ผลที่จะได้รับ คือ ได้ศูนย์ประชุมและจัดแสดงนิทรรศการ เพื่อรองรับจัดการประชุม และการจัดแสดงนิทรรศการขนาดใหญ่ ระดับชาติ และนานาชาติ ที่เพียงพอต่อความต้องการในส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมาและกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในการก้าวเข้าสู่ AEC

จังหวัดนครราชสีมามีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอ สามารถรองรับความต้องการด้านอาคารสถานที่และระบบสาธารณูปโภค ในการจัดงานพระราชพิธี และงานพิธีของรัฐที่สำคัญ รวมทั้งงานแสดงสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

  1. โครงการก่อสร้างศูนย์รวมตู้คอนเทนเนอร์และเปลี่ยนโหมดขนส่ง (Korat ICD)งบประมาณ 70 ล้านบาท

สืบเนื่องจากโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ที่ผ่านจังหวัดนครราชสีมา  ซึ่งจังหวัดนครราชสีมามีคอนเทนเนอร์ยาร์ด 3 แห่งคือ 1.บ้านกุดจิก 2.บ้านกระโดน 3.อำเภอบัวใหญ่ โดยมีปริมาณสินค้าที่ประมาณการไว้ กว่า 6 แสนตันต่อปี  เพื่อให้การดำเนินการลดต้นทุนการขนส่งของประเทศ กรมขนส่งทางบก จึงเสนอแผนการก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้า โดยการศึกษาของที่กรมขนส่งทางบก ได้ว่าจ้างให้สถาบันการศึกษาทำการศึกษา  จังหวัดนครราชสีมามีแผนที่จะจัดตั้งสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค ที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 127 ถนนมิตรภาพ ตัดกับถนนวงแหวนรอบนอกด้านเหนือซึ่งเป็นบริเวณที่มีทางรถไฟรางคู่มาบรรจบกันที่ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยมีข้อพิจารณาหลักคือติดทางรถไฟและถนนสายหลัก 2 สายและใกล้นิคมอุตสาหกรรมนวนคร โดยใช้พื้นที่ย่านรถไฟรวม 56,000 ตารางเมตร พื้นที่คอนเทนเนอร์ยาร์ด21,000 ตารางเมตร ความยาว Marshalling Yard 420 เมตร

วัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานีขนส่งสินค้าระหว่างรถไฟและรถยนต์ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคจากส่วนต่างๆของประเทศที่จะส่งมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นจุดขนถ่ายสินค้า ทางรถไฟกับทางรถยนต์เพื่อขนส่งสินค้าของจังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงไปยังส่วนต่างๆของประเทศและเพื่อการส่งออก การขนส่งทางรางจะเป็นการประหยัดต้นทุนการขนส่ง โดยการขนส่งทางรถไฟจะถูกกว่าการขนส่งทางถนน เนื่องจากรถจักร 1 ขบวนสามารถลากตู้สินค้าได้ประมาณ 70 ตู้สินค้าทำให้ค่าขนส่งของผู้ประกอบการมีต้นทุนต่ำลง อันจะส่งผลทำให้ต้นทุนขนส่งสินค้าโดยรวมของประเทศต่ำลงด้วยตามนโยบายของรัฐบาล

 

จังหวัดนครราชสีมา จะเป็นทางผ่าน ของสินค้าที่บรรจุตามคอนเทนเนอร์ยาร์ดต่างๆของการรถไฟ โดยในจังหวัดนครราชสีมาเองมี 3 แห่งคือที่บ้านกุดจิก บ้านกระโดน และที่อำเภอบัวใหญ่ นอกจากนั้น เส้นแยกทางรถไฟนครราชสีมาไปยังอุบลราชธานียังมีคอนเทนเนอร์ยาร์ดอีก4 จุดอันประกอบไปด้วย 1.บ้านตะโก จังหวัดบุรีรัมย์ 2.บ้านบุฤาษี จังหวัดสุรินทร์3.บ้านหนองแวง จังหวัดศรีสะเกษและบ้านบุ่งหวาย จังหวัดอุบลราชธานี โดยผลการศึกษาคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณสินค้ามากกว่า 1 ล้านตันต่อปี ซึ่งสินค้าที่ส่งผ่าน คอนเทนเนอร์ยาร์ดทั้ง 7 แห่ง ต้องผ่านนครราชสีมา จึงเสนอเพิ่มให้สถานีขนส่งสินค้าดังกล่าวเป็นจุด Inland Container Depot (ICD) เพื่อเป็นจุด ทำพิธีศุลกากร ทั้งเข้าและออก เพื่อบรรเทาความแออัดที่ปลายทางคือแหลมฉบัง โดยดูต้นแบบมาจาก ICD ลาดกระบัง  เสนอขอให้ มีการ จัดเตรียมงบประมาณเพื่อทำ Detail Design จำนวนเงิน 70 ล้านบาท

สำหรับความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ คาดว่าจะสามารถประหยัดต้นทุนการขนส่งของผู้ประกอบการได้ 200 ล้านบาทต่อปีในปีต้นๆ หลังจากดำเนินงานเกิน10 ปีและการขนส่งสินค้ามีปริมาณสูงขึ้นจะทำให้ประหยัดค่าขนส่งกว่า 500 ล้านบาทต่อปี  ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพจากโครงการรถไฟรางคู่ของรัฐบาลที่จะก่อสร้างเสร็จในอนาคตเพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมตามแผนของกลุ่มจังหวัด เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับแผนการขนส่งของประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าและต้นทุนการขนส่งสินค้าของประเทศลดลง และลดความแออัดของการตรวจสอบด้านศุลกากรที่ท่าเรือแหลมฉบัง

(ข้อมูลจำเพาะ : 1.คอนเทนเนอร์ยาร์ด (Container Yard: CY) หมายถึงสถานที่ซึ่งเป็นที่กองเก็บตู้สินค้าที่มีสินค้าบรรจุอยู่ หรือตู้สินค้าเปล่าที่ได้รับมา หรือจะส่งไปยังลูกค้าหรือที่อื่นๆ

  1. คอนเทนเนอร์เฟรทสเทชั่น (Container Freight Station: CFS)หมายถึงสถานที่ที่กำหนดไว้เพื่อใช้สำหรับเก็บสินค้าที่ได้รับมาจากลูกค้าเพื่อที่จะบรรจุเข้าตู้สินค้าและ/หรือ สถานที่ ที่ใช้ส้าหรับเก็บสินค้าที่ขนถ่ายออกมาจากตู้สินค้าและเตรียมจะส่งไปยังลูกค้า โดยมากแล้ว CFS จะมี ลักษณะเป็นโกดังขนาดใหญ่สามารถป้องกันสินค้าได้ เป็นอย่างดี

3.ไอซีดี (ICD, Inland Container Depot) หมายถึง สถานที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นจุดที่ให้บริการแก่ผู้ส่งและ/หรือผู้รับที่มาส่งและ/หรือรับสินค้าในระบบตู้สินค้า(ผู้นำเข้า/ผู้ส่งออก)  สถานที่ดังกล่าวนี้จะต้องสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้ทั้งในระบบ CYและ CFS รวมทั้งจะต้องมีบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการขนส่งตู้สินค้า เช่น มีบริการของศุลกากร เครื่องมือยกขน รถบรรทุก เป็นต้น ICD จะมีบริการเหมือนท่าเรือทุกอย่าง ยกเว้นท่าเทียบจอดเรือ โดยมักจะเรียก ICD ว่าเป็นท่าเรือบก หรือ ดรายพอร์ท (Dry Port)

 

  1.     เร่งดำเนินการระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองโคราช LRT ซึ่งได้ออกแบบไว้แล้ว

4 .การพัฒนาเส้นทางเชื่อมจุดขนถ่ายสินค้า(CY) อ.บัวใหญ่-ชัยภูมิ เป็นถนน 4 เลน  ทางหลวงหมายเลข 202 ตอน สีดา – บัวใหญ่ – ชัยภูมิ ระหว่าง กม.3+000 – กม.25+660 และ กม.25+660 – กม.66+850 ระยะทาง 63.850 กม.   งบประมาณ  1,942.22  ล้านบาท

5.โครงการผันน้ำด้วยระบบท่อ จากอ่างเก็บน้ำหนองกก ลุ่มน้ำลำเชียงไกรตอนล่าง  แก้ปัญหาภัยแล้งที่ อ.พระทองคำ ระยะทาง11กม.ใช้งบประมาณ 30 ล้านบาทสามารถแก้แล้งซ้ำซากในพื้นที่ดังกล่าว

6.โครงการสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์เฉลิมพระเกียรตินครราชสีมา   ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 82,ล้านบาท

        ทั้งนี้สืบเนื่องจากกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 4 ยกระดับอารยธรรมอีสานใต้ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับทรัพยากรท่องเที่ยวตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ถึงปัจจุบัน  โดยกำหนดให้มีโครงการอุทยานธรณี (Geopark) สู่อุทยานธรณีโลก  และให้เชื่อมโยงกับเส้นทางท่องเที่ยวอีสานใต้  ดังนั้น โครงการสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอุทยานธรณี  จึงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์นี้ของกลุ่มจังหวัด เพราะเป็นการเชื่อมโยงเส้นทางช้างโคราชดึกดำบรรพ์สู่ช้างสุรินทร์ปัจจุบัน  ขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรตินครราชสีมา เป็นดินแดนพบช้างดึกดำบรรพ์มากสายพันธุ์ที่สุดในโลก  (10 สกุลจาก 55 สกุลของโลก)  และอำเภอท่าตูม  จังหวัดสุรินทร์  เป็นดินแดนช้างเอเชียมากที่สุดของโลกด้วย

               ส่วนอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นพื้นที่พบช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสายพันธุ์ที่สุดในโลก แต่ชุมชนท้องถิ่นไม่รู้จักหรือเข้าใจ ไม่รู้คุณค่าและอนุรักษ์ และไม่ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าว แหล่งช้างดึกดำบรรพ์โคราชมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับแหล่งและเส้นทางช้างปัจจุบันที่บุรีรัมย์และสุรินทร์ (Elephant World) ที่มีความสำคัญเป็นเส้นทางช้างอันยิ่งใหญ่ของโลก แต่การท่องเที่ยวปัจจุบันไม่ได้เชื่อมโยงแหล่งและเส้นทางดังกล่าว  อุทยานธรณีโคราชหรือโคราชจีโอพาร์ค อาศัยความสำคัญของฟอสซิลช้างในระดับนานาชาติ ที่เป็นเหตุผลในการขอรับการประเมินจากยูเนสโกเพื่อจัดตั้งเป็นจีโอพาร์คโลก แต่ฟอสซิลช้างในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ยังไม่ได้รับการอนุรักษ์ เรียนรู้และจัดกิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนท้องถิ่นและภาครัฐตามเกณฑ์ประเมินของยูเนสโก

       สำหรับการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับโครงการโลกของช้าง (World Elephant)จ.สุรินทร์ เพื่อเป็น “เส้นทางท่องเที่ยวช้างโคราชดึกดำบรรพ์สู่ช้างสุรินทร์ปัจจุบันของโลก” โดยผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือชุมชนท้องถิ่นในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ  และตามเส้นทางช้างโคราช-บุรีรัมย์-สุรินทร์  จะมีงานอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และการบริการที่เกี่ยวกับช้างดึกดำบรรพ์และช้างปัจจุบัน,อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จะเป็น “เมืองแห่งช้างดึกดำบรรพ์โลก” หรือ “World Ancient  Elephant City” 3.อุทยานธรณีโคราชหรือโคราชจีโอพาร์ค  จะได้รับการรับรองจัดตั้งเป็นจีโอพาร์คโลกจากองค์การยูเนสโก (UNESCO Global Geopark) ,ประเทศไทยและจังหวัดนครราชสีมา  จะได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโกหรือ The UNESCO Triple Crown ประเทศที่ 4 ของโลกต่อจากประเทศอิตาลี เกาหลีใต้และจีน เพราะมีทั้งมรดกโลก พื้นที่สงวนชีวมณฑล และจีโอพาร์คโลกร่วมด้วยในจังหวัดเดียวกัน

การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ บริหารจัดการโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยประสานการดำเนินงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้างและภาคประชาชนในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมชุมชนแนวใหม่ขององค์การยูเนสโกในรูปแบบจีโอพาร์ค (Geopark) โดยงบประมาณหลักมาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและรายได้จากกิจกรรมท่องเที่ยวของโคราชจีโอพาร์ค

ขณะนี้จังหวัดนครราชสีมามีแบบแปลนการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์แล้วทั้งหมด ด้านที่ดิน เป็นที่ดินของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการบริจาคจากเอกชน จำนวน 10 ไร่ ในท้องที่ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และเป็นแหล่งพบซากช้างดึกดำบรรพ์พื้นที่หรือประชาชนได้รับประโยชน์คือพื้นที่เส้นทางช้างตั้งแต่นครราชสีมา บุรีรัมย์และสุรินทร์  รวม 38,900 ตร.กม. ประชาชนได้รับประโยชน์ในพื้นที่ 3 จังหวัด 5.5 ล้านคน  มีนักท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์และอุทยานธรณี  รวมมากกว่า 1,000,000 คน

7.แผนแม่บทการพัฒนาเมืองใหม่นครราชสีมา เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

นครราชสีมาเป็นจังหวัดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศรองลงมาจากกรุงเทพมหานคร ที่ตั้งของจังหวัดเป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้แก่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ซึ่งเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีความสำคัญต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาก มีประชากร 5.875 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ31 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดรวมกัน 454,231 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีสถานประกอบการ 207,079 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 30ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นครราชสีมาและสุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีจำนวนสถานประกอบการมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลำดับที่ 1และ 2 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เชื่อมโยงกับโครงข่ายหลักของประเทศและเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศบริเวณภาคกลางและพื้นที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)และมีแผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการที่มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ รถไฟความเร็วสูง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เป็นประตูเข้า-ออกระหว่างจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคกลางและชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

จังหวัดนครราชสีมาเป็นแหล่งที่ตั้งของศูนย์การค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์โคราช คลังพลาซ่า เซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา เทอร์มินอล 21 โคราช และร้านค้าปลีกค้าส่ง อีกมากมาย และยังเป็นศูนย์กลางของการเกษตรและอุตสาหกรรม จังหวัดนครราชสีมาได้ถูกกำหนดให้เป็นเมืองหลักมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 5 มีเขตนิคมอุตสาหกรรม คือ เขตอุตสาหกรรมสุรนารี เขตอุตสาหกรรมนวนคร นครราชสีมา นิคมอุตสาหกรรมนวนคร 2 นครราชสีมา และมีโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสูงเนิน ที่เป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศแห่งใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองรับเศรษฐกิจขยายตัว

การบริหารจัดการภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้พัฒนาเป็น Smart City ในหลากหลายกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนให้สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของจังหวัดอย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้างสรรค์ออกแบบพัฒนาระบบการขนส่งให้เป็นระบบขนส่งอัจฉริยะ มีการวิเคราะห์ปัจจัยร่วม ได้แก่ ด้านพลังงาน ระยะทาง ประเภทของการขนส่ง ระยะเวลา ตลอดจนกำลังคนที่ต้องใช้ในการดำเนินการ และปัจจัยอื่น ๆ ให้เป็นระบบอัจฉริยะ นอกจากนี้ มีการพัฒนาระบบความปลอดภัยของเมืองให้ครอบคลุมดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง เป็นการเน้นด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อตอบสนองความต้องการระบบความปลอดภัยสาธารณะ หรือ Public Safety ให้พร้อมดูแลประชาชน ซึ่งต่อจากนี้จะมีการพัฒนา 2 โครงการ ได้แก่

1.โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อการขับเคลื่อนการลงทุนให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด Smart Growth มีเป้าหมายในการจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อกำกับดูแลโครงการความร่วมมือนี้ในรูปแบบของสถาบันนานาชาติเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม เพื่อผู้ประกอบการรายใหม่ (International Creative and Innovation Entrepreneur Academy) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรสำหรับประชาชนที่เป็นผู้ประกอบการที่เน้นพัฒนาธุรกิจด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมของไทยและต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับการทำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดในการพัฒนาชุมชนการอยู่อาศัยแบบอัจฉริยะ หรือเรียกว่า Smart Living Community ที่มีความปลอดภัยสำหรับสาธารณะชนอย่างทั่วถึง ซึ่งจะเริ่มต้นกับสิ่งง่าย ๆ เช่น การติดตั้งกล้อง CCTV วงจรปิดให้ทั่วทุกพื้นที่เท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนี้ ยังมีโครงการย่อยอื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์และเปิดตัวให้เห็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลที่ทันสมัยมาใช้บริหารจัดการ อาทิ ระบบบริหารจัดการข้อมูลนักท่องเที่ยวด้วยบัตรนักท่องเที่ยวอัจฉริยะ (Smart Tourist Card System) ระบบแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย และระบบตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม (IOT Environment Sensors City) เป็นต้น

2.โครงการจัดตั้งสวนนวัตกรรม (Innovation Park) สำหรับสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิทัล (Super Cluster Digital) เพื่อเป็นหน่วยงานสำคัญสำหรับการประสานงานการให้บริการและคำปรึกษาด้านการลงทุนในธุรกิจดิจิทัลทำหน้าที่ศึกษาและพัฒนาระบบนิเวศน์และการศึกษาเชิงรุกเพื่อเป็นตัวอย่าง (Ecosystem and Incentive Study and Roadshow) ตลอดจนดูแลขั้นตอนสำคัญในการจัดตั้งและการขอรับการรับรองตามระเบียบและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันการจราจรในเขตเมืองนครราชสีมาเกิดสภาพการจราจรหนาแน่น การเคลื่อนตัวช้าโดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน ติดขัดอย่างยิ่ง การพัฒนาขยายตัวเมืองเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่เส้นทางไม่ได้รับการพัฒนา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาเส้นทาง ตามผังเมืองรวม เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร ทางแยกต่างระดับ การจราจรคับคั่ง รถติดสะสม มีความจำเป็นให้เพิ่มเส้นทางเลือก

ระยะเวลาดำเนินการ1 ปี งบประมาณ 60 ล้านบาท ประกอบด้วย

โครงการ งบประมาณ (บาท) หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
โครงการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลผังเมืองและประชากรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 20 ล้านบาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โครงการวิเคราะห์และออกแบบการพัฒนาเมือง ด้านกายภาพ ด้านสังคมและประชากร ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม 20 ล้านบาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โครงการออกแบบแผนแม่บทการพัฒนาเมืองใหม่นครราชสีมา เป็นSmart City 20 ล้านบาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โครงการสำรวจออกแบบ ถนนผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา

– อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง 13.339กม.(ใช้งบประมาณ 13,000,000 บาท)

– อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง 6.200 กม. (ใช้งบประมาณ 6,000,000 บาท)

เสนอขอรับสนับสนุนในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แขวงทางหลวงชนบทนครราชสีมา

 

 

 

ผลที่จะได้รับเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา (เมืองใหม่) นครราชสีมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อกำหนดแนวทางต่อการวางแผนการพัฒนา(เมืองใหม่) นครราชสีมา ให้เป็นเมืองน่าอยู่ รักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการเป็นเมืองประวัติศาสตร์ เมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศและพลังงาน และเมืองแห่งนวัตกรรมของภูมิภาคหน่วยงานราชการ ผู้ประกอบการ และภาคสังคม รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและปัญหาการพัฒนาเมือง เพื่อการพัฒนาให้เป็นเมืองเศรษฐกิจน่าอยู่ และดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและระบบนิเวศอันสมดุล

การทำ Smart City จะมีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจของเมืองอย่างยั่งยืน ซึ่งจะทำให้ทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจได้ผลประโยชน์ทั้งหมด เช่น ภาคประชาชนจะมีรายได้จากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่ และภาคธุรกิจก็สามารถเอาข้อมูลที่ได้จากนักท่องเที่ยวมาสร้างแอพพลิเคชันใหม่ ๆ ในการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ มีแนวคิดหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า เมื่อเมืองมีความเป็น Smart ขึ้นโดยอาจจะเริ่มจากความปลอดภัยภายในเมือง ประชาชนรวมทั้งนักท่องเที่ยวก็จะรู้สึกปลอดภัย และเข้ามาเที่ยวมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นรายได้เพื่อต่อได้ด้านอื่น ๆ ตามมา

เพื่อเป็นการรองรับการเจริญเติบโตของเมืองนครราชสีมาและเมืองสีคิ้ว ประกอบกับเป็นการเชื่อมโยง ระหว่าง ถนนหมายเลข 2 (มิตรภาพ) กับ ถนนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เพื่อเป็นการรองรับการเจริญเมืองสีคิ้วและสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาจราจรเชื่อมทางคมนาคม รวมเสนอของบประมาณดำเนินการทั้ง6โครงการเป็นเงินทั้งสิ้น 3,354.22 ล้านบาท