มทร.อีสาน จับมือ รฟท.และ CRSC เดินหน้าผลิตบัณฑิตป้อนระบบรางของประเทศ นายปริญญา กิตติสุทธิ์ อาจารย์ประจำคณะระบบรางและการขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา เปิดเผยว่า คณะระบบรางและการขนส่ง มทร.อีสาน เป็นหน่วยงานหนึ่งในกลุ่มยุทธศาสตร์หลักของ มทร.อีสาน ซึ่งมีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตด้านระบบราง อากาศยานและการขนส่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงการผลิตและพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ ใหม่และเทคโนโลยีใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นการให้บริการวิชาการที่หลากหลาย และเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านระบบราง อากาศยานและการขนส่ง ตลอดจนสนับสนุนการทำนุบำรุงศาสนา …
การรถไฟแห่งประเทศไทย
-
-
ข่าวยอดนิยมเศรษฐกิจ
ฟันธงเดินหน้ารถไฟทางคู่ต่อ! ไม่ทุบสะพานสีมายันเหมาะสมแล้ว เดินหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงผ่านตัวเมืองโคราช
by ckongphaby ckongphaเดินหน้าต่อ! สะพานสีมายังอยู่ การรถไฟยันไม่ทุบเดินหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ต่อ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงผลการหารือแนวทางการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมา ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หอการค้า สภาอุตสาหกรรม เพื่ออธิบายความจริง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทางการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า สำหรับแนวทางการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ในส่วนที่ผ่านตัวเมืองนครราชสีมาทั้งหมดจะเป็นทางยกระดับสูง 8 เมตร ประชาชนทั้งสองฝั่งทางรถไฟสามารถสัญจรไปมาได้สะดวกโดยใช้ทางลอดใต้ทางรถไฟ ซึ่งไม่เป็นการแบ่งแยกตัวเมืองออกเป็นสองฝั่ง การก่อสร้างไม่ได้ทำให้น้ำท่วมตัวเมืองอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ในส่วนที่ผ่านตัวเมืองบริเวณสะพานสีมาธานี รฟท. ได้ชี้แจง และทำความเข้าใจถึงความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการก่อสร้าง โดยมีข้อสรุป 2 แนวทาง ดังนี้ 1.ก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ ลอดใต้สะพานสีมาธานี ซึ่งจะมีช่วงระยะทางรถไฟลดระดับลงลอดใต้สะพานสีมาธานี และขึ้นไปเป็นทางยกระดับ ประมาณ 1,600 เมตร โดยไม่ต้องทุบสะพานสีมาธานี 2.ก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ ข้ามสะพานสีมาธานี โดยไม่ต้องทุบสะพานสีมาธานี แนวทางนี้ รฟท. ชี้แจงว่า อาจส่งผลกระทบกับโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่ขบวนรถไฟความเร็วสูงต้องหยุดที่สถานีโคราช และทางคู่เมื่อยกระดับข้ามสะพานสีมาธานีแล้วไม่สามารถลดระดับ เพื่อหยุดที่สถานีโคราชได้ เนื่องจากระยะทางไม่เพียงพอ ซึ่งอาจต้องย้ายสถานีโคราชไปอยู่ที่เหมาะสม หรืออาจยกระดับผ่านสถานีโคราชแล้วลดระดับเข้าสู่สถานีจิระแทน ทั้งนี้ ได้มอบให้ รฟท. ดำเนินการออกแบบเป็นภาพกราฟิกทั้ง 2 แนวทาง เพื่อให้กลุ่มผู้นำในจังหวัดนครราชสีมาเห็นภาพที่ชัดเจน และนำไปสื่อสารชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ได้รับทราบต่อไป