26 April 2024


หนุนเกษตรกรอีสานพึ่งตนเอง ผลิตแตนเบียนแมลงเพชฌฆาตกำจัดศัตรูพืชเมินใช้สารเคมี

Post on: Oct 31, 2017
เปิดอ่าน: 772 ครั้ง

 

หนุนเกษตรกรอีสานพึ่งตนเอง ผลิตแตนเบียนบราคอนแมลงเพชฌฆาตปราบหนอนหัวดำมะพร้าว แทนการใช้สารเคมี หลังพบการระบาด  หลายพื้นที่  ศทอ.โคราชจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วลงแนะเกษตรกรผลิตแตนเบียนใช้เองฟรี เผยทำง่ายต้นทุนต่ำ รัฐประหยัดงบเกษตรกรภูมิใจทำด้วยตัวเอง  ชี้เป็นวิธีกำจัดหนอนหัวดำได้ผลดีที่สุด

สอนทำแตนเบียน5สอนทำแตนเบียน8ว่าที่พันตรี ณรงค์ชัย  ค่ายใส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.) จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดนครราชสีมา เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 7 จังหวัดนครราชสีมา  กรมส่งเสริมการเกษตร รับผิดชอบกำกับดูแลพืชในพื้นที่  8 จังหวัดอีสานตอนล่าง  ได้แก่ นครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์,ศรีสะเกษ, สุรินทร์,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ และยโสธร มีบทบาทหน้าที่ในการศึกษา ทดสอบ ประยุกต์และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช แบบผสมผสานให้เหมาะสมกับพื้นที่ , ส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ดำเนินการผลิตขาย สนับสนุนปัจจัยควบคุมศัตรูพืช และให้บริการ สนับสนุนการตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยแจ้งเตือนภัยการระบาดและให้คำแนะนำการจัดการศัตรูพืช เป้าหมายคือให้เกษตรกร  ลด ลด เลิกการใช้สารเคมี เพราะนอกจากจะให้คุณแล้วยังให้โทษอย่างมหันต์  และเป็นนโยบายของกระทรวงเกษตร

สอนทำแตนเบียน9สอนทำแตนเบียน7 สอนทำแตนเบียน4ขณะนี้ศูนย์ฯ สามารถผลิตขยายศัตรูธรรมชาติได้ทั้งตัวห้ำ เช่น มวนพิฆาต  แมลงหางหนีบ แมลงช้างปีกใส ด้วงเต่า  มวนเพชฌฆาต แมลงหางหนีบ   ตัวเบียน  เช่น แตนเบียน Anagyrus  lopezi  แตนเบียน Trichogramma Spp.  แตนเบียน บราคอน  เชื้อจุลินทรี  ประกอบด้วย เชื้อราไตโคเดอร์ม่า  ฮาร์เซียนั่ม  เชื้อราบิวเวอร์เรีย  บาสเซียน่า เชื้อราเมตตาไรเซี่ยม แอนนิโซฟลี สมุนไพรควบคุมศัตรูพืช     เช่น สะเดา ตะไคร้หอม หางไหล หนองตายหายาก  รวมศัตรูธรรมชาติที่ศูนย์เพาะได้หลายแสนตัว

สอนทำแตนเบียน1 สอนทำแตนเบียน2ว่าที่พันตรี ณรงค์ชัย   กล่าวว่า ที่ผ่านมาศูนย์ส่งเสริมฯ ประสบปัญหาด้านงบประมาณในการผลิตแตนเบียนที่มีน้อยและมีห้องผลิตที่จำกัด  จึงหาทางออกในการแก้ปัญหาโดยไม่เพิ่มภาระในการจัดหางบประมาณจากโครงการอื่น และไม่ต้องขยายห้องเพาะเลี้ยง จึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้เกษตรกรสามารถผลิตแตนเบียนได้เองเพื่อควบคุมศัตรูพืชในพื้นที่โดยไม่ต้องลงทุนสูง แทนการรอแตนเบียนที่ผลิตจากศูนย์ส่งเสริมฯ เท่านั้น ทีมงานพยายามทดลองและหาวิธีการที่ง่าย ให้เกษตรกรสามารถทำได้เองในพื้นที่ แต่ต้องเกิดความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่กับเกษตรกรในพื้นที่ด้วย  จึงนำเทคนิคที่ได้นี้ไปใช้จริงในพื้นที่ ที่ประสบปัญหา

สอนทำแตนเบียน9 หนอนหัวดำปัจจุบันพบการระบาดของหนองหัวดำมะพร้าวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หลายจังหวัด หากไม่รีบดำเนินการป้องกันกำจัด ต้นมะพร้าวจะเกิดความเสียหายกระจายวงกว้างออกไปมากยิ่งขึ้น และหากปลูกใหม่ต้องใช้เวลา 3-4 ปี จึงจะเริ่มให้ผลผลิต  ทางศูนย์ส่งเสริมฯ ได้จัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เข้าไปในพื้นที่เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรในพื้นที่ระบาด ให้ร่วมกันแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม โดยการให้ความรู้เกษตรกรผลิตแตนเบียนบราคอนกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวได้ด้วยตัวเอง ใช้เงินลงทุนไม่เกิน 100 บาทในการซื้ออุปกรณ์ส่วนพ่อแม่พันธุ์แตนเบียนบราคอนทางศูนย์ส่งเสริมฯให้การสนับสนุน ต้นทุนการผลิตแตนเบียนบราคอนสูงถึงตัวละ 1.50 บาท แต่หากใช้วิธีดังกล่าวสามารถลดเหลือตัวละ 0.10 บาทเท่านั้น  ทั้งนี้วิธีนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการเพาะแตนเบียนชนิดอื่นๆ ได้ด้วย

อย่างไรก็ตามลำดับแรกที่เกษตรกรสามารถทำได้ทันที คือการดูแลรักษาความสะอาดแปลง หมั่นสำรวจแปลงถ้าพบหนอนหัวดำมะพร้าวให้รีบตัดทางใบและเผาทำลาย เพื่อตัดแหล่งอาศัยทันที จากนั้นให้ใช้ศัตรูธรรมชาติคือปล่อยแตนเบียนบราคอน เข้าไปควบคุมประชากรหนอนหัวดำไม่ให้แพร่ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น

สอนทำแตนเบียน6

สอนทำแตนเบียน10สำหรับวิธีการผลิตแตนเบียนบราคอน ทำง่ายโดยเริ่มจากเกษตรกรตัดทางมะพร้าวที่หนอนหัวดำมะพร้าวกำลังระบาด มาคัดเอาหนอนหัวดำตั้งแต่วัย 3 ขึ้นไป ลำตัวยาว 1-1.2 ซม. ซึ่งเป็นวัยที่แตนเบียนบราคอนสามารถวางไข่ได้  ใส่ในกาละมังแล้วใช้ผ้าขาวบางคลุมปากกาละมังมัดผ้าขาวบางบนขอบกาละมังด้วยยางหรือเชือก จากนั้นนำพ่อแม่พันธุ์แตนเบียนบราคอนที่ได้จากศูนย์ส่งเสริมฯ  ใส่ลงไปในกาละมังพร้อมน้ำผสมน้ำผึ้ง 5-10% ชุบสำลีก้อนขนาดหัวแม่มือ เพื่อให้เป็นอาหารของแตนเบียน อัตราการปล่อยแตนเบียนบาคอน 3 คู่ ต่อหนอนหัวดำ 25 ตัว นำกาละมังไปไว้ใต้ร่มไม้ จากนั้นปล่อยให้แตนเบียนผสมพันธุ์และวางไข่บนตัวหนองหัวดำ ประมาณ 4-5 วัน ครบกำหนดเปิดกาละมังให้แตนเบียนออกไปทำการกำจัดหนอนหัวดำในธรรมชาติ  ส่วนหนองหัวดำที่ถูกแตนเบียนวางไข่แล้วให้เลี้ยงต่อไปอีกจนกระทั่งครบ 10-14 วัน แตนเบียนจะฟักออกเป็นตัวเต็มวัย ให้เปิดผ้าขาวบางปล่อยแตนเบียนปล่อยแตนเบียนออกสู่ธรรมชาติเพื่อไปกำจัดหนองหัวดำต่อไป โดยสามารถเพิ่มปริมาณแตนเบียนได้อีก 4-10 เท่า ของแตนเบียนพ่อแม่พันธุ์เพิ่มขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของหนองหัวดำวิธีดังกล่าวนี้สามารถแก้ปัญหาและป้องกันกำจัดหนองหัวดำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนในการผลิตแตนเบียน

หนุนเกษตรกรอีสานผลิตแตนเบียน4

หนุนเกษตรกรอีสานผลิตแตนเบียน6

หนุนเกษตรกรอีสานผลิตแตนเบียน7

หนุนเกษตรกรอีสานผลิตแตนเบียน8  หนุนเกษตรกรอีสานผลิตแตนเบียน10

หนุนเกษตรกรอีสานผลิตแตนเบียน11