26 April 2024


สตาร์ทเครื่อง! พร้อยลุยงาน คพข.รุ่น3 เขต 6 โคราชเตรียมเดินเครื่องคุ้มครองผู้ใช้พลังงานเขตอีสานล่าง

Post on: Jul 7, 2018
เปิดอ่าน: 1,086 ครั้ง

 

สตาร์ทเครื่อง!คพข.เขต 6 อีสานล่างรุ่น 3 พร้อมเดินเครื่องคุ้มครองผู้ใช้พลังงานหลังผ่านการสรรหา เน้นการทำงานแบบบูรณาการ ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ประชุมนัดแรกเลือก ปธ.ตัวแทนเขต ได้ “สุภาพ  ศรีภา” คพข.จ.บุรีรัมย์ เผยการทำงานต้องไปพร้อมกัน มุ่งสางปัญหาให้ประชาชนอย่างรวดเร็วทันท่วงที

คพข รุ่น3วันนี้(6ก.ค.)ที่ห้องประชุมสำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประจำเขต6 นครราชสีมา ถ.สุรนารายณ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา จัดให้มีการประชุม คณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต(คพข.) 6  ประกอบด้วยนครราชสีมา,ชัยภูมิ, สุรินทร์และบุรีรัมย์ ครั้งแรกหลังผ่านการสรรหาของ คณะกรรมการ กกพ. เพื่อคัดเลือกประธาน

สำหรับ คพข.เขตพื้นที่ผู้ใช้พลังงานที่ 6 มีจำนวนทั้งหมด 11คนประกอบด้วย  นายพงษ์ศักดิ์  ภูงามเชิง คพข.จ.ชัยภูมิ น.ส.ฉัตรสุรางค์  กองภา,นายบรรเจิด  แก้วกำเนิด, น.ส.ชรินทร์ทิพย์ สัมภาวะผล และ นางสภคยา เมฆขุนทด คพข.จ.นครราชสีมา น.ส.วยุรี ศรีสูงเนิน, นายสุภาพ  ศรีภา คพข.จ.บุรีรัมย์ นายศิริวัตร  บุญประสพ และนางสุจินดา สินโพธิ์ คพข.จ.สุรินทร์โดยเป็นผู้แทนจากผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 9 คนและผู้แทนจากภาคเอกชน 2 คน คือ นายสมบัติ  สทบูรณ์เทอดธนา ผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ น.ส.อุบลรัตน์ บุญประสาทสุข ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีมติเลือกนายสุภาพ ศรีภา คพข.จ.บุรีรัมย์ อาชีพเกษตรกร เป็นประธาน คพข. ประจำเขต  6

คพข รุ่น3-1 นายสุภาพ  ศรีภา ประธาน คพข.ประจำเขต 6 เปิดเผยว่า รู้สึกดีใจที่ได้รับความไว้วางใจจาก คพข.ประจำจังหวัดให้เป็นประธาน คพข.ประจำเขต 6  จากประสบการณ์ที่เคยเป็น คพข. รุ่น 2 มาแล้วทำให้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของ คพข.และการทำงานในรุ่น3นี้ จะนำประสบการณ์ดังกล่าวมาปรับใช้พร้อมประสานความร่วมมือ กับ คพข. ของแต่ละจังหวัดเพื่อร่วมกันทำงานโดยจะยึดประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้ไฟเป็นหลัก ดูแล เร่งแก้ไขปัญหาและให้ความสำคัญกับทุกข้อร้องเรียนของประชาชนที่ส่งมายัง คพข. และ เน้นการทำงานแบบบูรณาการเพื่อให้เกิดการพัฒนาแก้ไขปัญหาให้อย่างรวดเร็ว พร้อมกันนี้จะให้ความสำคัญงานประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทราบถึงบาทบาทหน้าที่ของ คพข.อย่างกว้างขวางต่อไป

สำหรับ คพข. คือ คณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) แต่งตั้งขึ้นจากผู้แทนผู้ใช้พลังงาน (ผู้ใช้ไฟฟ้า) ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน 2550 (พ.ร.บ.) เพื่อมาเป็นกลไกของ กกพ. ในการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน โดยทำหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้พลังงาน ให้คำปรึกษาแก่ กกพ.ในด้านการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน เสนอมาตรการแก้ไขปรับปรุงการให้บริการพลังงาน เป็นต้น ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน 2550 มาตรา 98 กำหนดให้มี คพข. จำนวน เขต ละ 11 คน (มีประธาน 1 คน และกรรมการไม่เกิน 10 คน) ตามเขตพื้นที่ผู้ใช้พลังงานที่ กกพ. ประกาศ โดย กกพ. ได้ประกาศกำหนดเขตพื้นที่ผู้ใช้พลังงาน รวม 13 เขต ทั่วประเทศ โดยมี คพข. ทั้งสิ้น 143 คน และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี (คพข. ชุดปัจจุบัน ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อ 1 สิงหาคม 2557 จะครบวาระในวันที่ 31 กรกฎาคม 2561)ดังนี้คพข รุ่น3-2

เขต 1 มี 6 จังหวัด คือ เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ. ประจำเขต อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่
เขต 2 มี 8 จังหวัด คือ น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก และพิจิตร โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ. ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดพิษณุโลก
เขต 3 มี 6 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี และ ลพบุรี โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ. ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดนครสวรรค์
เขต 4 มี 8 จังหวัด คือ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย และขอนแก่น โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ. ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดขอนแก่น
เขต 5 มี 8 จังหวัด คือ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ. ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดอุบลราชธานี
เขต 6 มี 4 จังหวัด คือ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ. ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดนครราชสีมา
เขต 7 มี 7 จังหวัด คือ อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดสระบุรี
เขต 8 มี 5 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดชลบุรี
เขต 9 มี 4 จังหวัด คือ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดกาญจนบุรี
เขต 10 มี 6 จังหวัด คือ ราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดราชบุรี
เขต 11 มี 6 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช และตรัง โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เขต 12 มี 6 จังหวัด คือ พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดสงขลา
เขต 13 มี 3 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดนนทบุรี

คพข รุ่น3-2-1ส่วนการทำหน้าที่ของ คพข. นั้น เมื่อ คพข. ได้รับแต่งตั้งจาก กกพ. ก็จะปฏิบัติหน้าที่ในเขตโดยมี สนง.กกพ. ประจำเขตพื้นที่ เป็นฝ่ายเลขานุการ ในการกลั่นกรองการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้พลังงาน (ไฟฟ้า) ซึ่ง พ.ร.บ.ฯ ได้กำหนดประเภทเรื่องร้องเรียนที่จะเสนอต่อ คพข. ไว้ตามมาตรา 100 และ มาตรา 103 คือ การที่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการประกอบกิจการพลังงานของผู้รับใบอนุญาต (การไฟฟ้าฯ) และเรื่องที่ผู้ใช้ไฟฟ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจถูกเรียกเก็บค่าบริการที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ซึ่งข้อร้องเรียนดังกล่าวจะนำมาสู่การไกล่เกลี่ย และพิจารณาเพื่อหาข้อยุติต่อไป นอกจากไกล่เกลี่ยและพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้ว คพข. ก็สามารถให้คำปรึกษาและเสนอแนะมาตรการด้านการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานและมาตรการแก้ไขปรับปรุงการให้บริการด้านพลังงาน ได้ตามที่ พ.ร.บ.กำหนด ซึ่งที่ผ่านมา คพข. ทั้ง 13 เขต ก็ได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ไปประมาณ 100 เรื่อง/ปี และจากข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ของ คพข. จึงนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้ใช้พลังงานมากยิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงหลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตัด ต่อไฟฟ้าอันเนื่องมาจากการชำระค่าไฟฟ้าล่าช้า (กฟภ.107 บาท/กฟน.40บาท) ,การขยายเขตไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล ,ขยายระยะเวลาชำระค่าไฟฟ้า, การปรับหลักเกณฑ์ประเภท ผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราว,จัดทำสัญญาบริการไฟฟ้ามาตรฐาน เป็นต้น

คพข รุ่น3-3 คพข รุ่น3-4ในการปฏิบัติหน้าที่ของ คพข. นั้น สำนักงาน กกพ. ได้ออกระเบียบ ประกาศ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการทำงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ โดยมีสำนักงาน กกพ. ประจำเขต ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้ระเบียบ ประกาศ ประกอบด้วย

  1. ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การยื่นเรื่องร้องเรียน การรับเรื่องร้องเรียน และวิธีพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้พลังงาน เกี่ยวกับความเดือดร้อนเสียหายและข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้พลังงานกับผู้รับใบอนุญาต พ.ศ. 2553 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558
  2. ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และวิธีปฏิบัติงานของ คพข. พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561
  3. ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยวิธีปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประชุมของ คพข. พ.ศ. 2553
  4. ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติงานของ คพข. พ.ศ. 2555 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558
  5. ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การคัดค้านและการพิจารณาคำร้องคัดค้าน พ.ศ. 2552

ทั้งนี้ การที่ คพข. มีที่มาจากผู้แทนผู้ใช้พลังงานและมีคุณสมบัติเปิดกว้างตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 นั้น  สำนักงาน กกพ. ก็มีหลักสูตรอบรมพัฒนา คพข.เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตลอดช่วงระยะเวลา 4 ปี ภายใต้โครงการ “คพข. แลกเปลี่ยนเรียนรู้” ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงาน กกพ. ได้จัดโครงการอบรมหลักสูตรต่างๆ อาทิ ภารกิจงานกำกับกิจการพลังงานของ กกพ.  การเจรจาไกล่เกลี่ย การศึกษางานระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย การพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบ  การศึกษางานด้านพลังงานในต่างประเทศ

คพข รุ่น3-6 คพข รุ่น3-7ประเภทเรื่องร้องเรียนที่สามารถร้องต่อ คพข.

ในส่วนการทำหน้าที่ของ คพข. ทั้ง 13 เขต เมื่อได้รับการแต่งตั้งจาก กกพ. ก็จะปฏิบัติหน้าที่รับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้พลังงาน (ไฟฟ้า) ในเขต โดยมีสำนักงาน กกพ. ประจำเขตพื้นที่ เป็นฝ่ายเลขานุการของ คพข. ซึ่ง พ.ร.บ. ได้กำหนดประเภทเรื่องร้องเรียนที่สามารถร้องต่อ คพข. ไว้ 2 ประเภทเรื่อง คือ

  1. เรื่องตามมาตรา 100 คือ การที่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการประกอบกิจการพลังงานของผู้รับใบอนุญาต (การไฟฟ้า) เช่น ไฟฟ้าตก – ดับ ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเสียหาย
  2. เรื่องตามมาตรา 103 คือ เรื่องที่ผู้ใช้ไฟฟ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจถูกเรียกเก็บค่าบริการที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม

ซึ่งข้อร้องเรียนดังกล่าวจะนำมาสู่การไกล่เกลี่ยและพิจารณาหาข้อยุติตามเวลาที่กำหนด (60 วัน) ต่อไป

นอกจากการไกล่เกลี่ยและพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้ว คพข. ก็สามารถให้คำปรึกษาและเสนอแนะมาตรการด้านการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน และมาตรการแก้ไขปรับปรุงการให้บริการด้านพลังงานต่อ กกพ. ได้ตามที่ พ.ร.บ. กำหนด ซึ่งที่ผ่านมา คพข. ทั้ง 13 เขต ก็ได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนต่างๆ และส่งข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้ใช้พลังงานในหลายประการ ที่สำคัญคือ มาตรฐานของสัญญาให้บริการไฟฟ้า พ.ศ. 2558 จำนวน 12 ประเด็น ที่ กกพ. ประกาศใช้ ก็เป็นผลสืบเนื่องจากข้อเสนอแนะของ คพข. เป็นการช่วยยกระดับการคุ้มครองผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยกว่า 20 ล้านรายทั่วประเทศ

คพข รุ่น3-5 คพข รุ่น3-8