27 April 2024


ตะลึงซากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณ! ในงาน “จีโอพาร์คเฟสติวัล” อึ้งกับไดโนเสาร์สายพันธ์ุใหม่ของโลก

Post on: Feb 24, 2021
เปิดอ่าน: 424 ครั้ง

 

โคราชพร้อมเปิดงานมหกรรมปิดโลกรณีวิทยาเพื่อการท่องเที่ยว 26ก.พ. นี้กับ งาน โคราช จีโอพาร์ค เฟสติวัล ( Khorat Geopark Festivel ) ตะลึงชากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณ 10 สกุลจาก 55 สกุลของโลก ยังมีฟอสซิลสัตว์สกุลชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด อาทิจระเข้ , แรดไร้นอ , ลิงไม่มีหาง , เต่า และ ไดโนเสาร์ รวมแหล่งไดโนเสาร์ฟอสซิลมากกว่า 1,000 ชิ้น ฟันมากกว่า 300 ชิ้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก

เมื่อเวลา 11.00 น.วันนี้( 23 กุมภาพันธ์ 2564 ) ที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี ภาคตะวันออกเฉียงเฉลิมพระเกียรติ บ้านโกรกเดือนห้า ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา  หรือพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินฯ จังหวัดนครราชสีมา นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี , ผศ.ดร.อดิศร นาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโคราช ดำเนินการจัดความพร้อมการจัดงานมหกรรมปิดโลกรณีวิทยาเพื่อการท่องเที่ยว ครั้งที่ 7โคราช จีโอพาร์ค เฟสติวัล ( Khorat Geopark Festivel ) โดยนายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดอย่างเป็นทางการ ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 26 ก.พ. 2564 กับนิทรรศการส่งสริมการท่องเที่ยวทางธรณีวิทยามหกรรมปิดโลกรณีวิทยาเพื่อการท่องเที่ยว ครั้งที่ 7โคราช จีโอพาร์ค เฟสติวัล ( Khorat Geopark Festivel ) โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ อปท. ทหาร ตำรวจ สถาบันการศึกษา เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนพี่น้องประชาชนทั่วไปกลุ่มเป้าหมายร่วมงานไม่น้อยกว่า 1,000 คน งานมีระหว่างวันที่ 26-28 ก.พ. 2564

นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รงอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมา มีความโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยาที่สำคัญ และได้รับการขนานนามว่าเป็น ดินแดนแห่งเทือกเขาเควสต้าและฟอสซิล เนื่องมาจากมีความหลากหลายทางชีวภาพของฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม พบช้างดึกดำบรรพ์มากที่สุดในโลกถึง 10 สกุลจาก 55 สกุลของโลก รวมทั้งยังพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก 4 สกุลพบแหล่งฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน และยังมีภูมิประเทศเขาเควสตาหินทรายคู่ขนาน และมีความยาวถึง 1,640 กิโลเมตรผ่านประเทศไทย สปป.ลาว และกัมพูชา อุทยานธรณีโคราช เป็นอุทยานธรณีระดับประเทศแห่งที่ 2 มีความโดดเด่นหลากหลาย ทั้งลักษณะภูมิประเทศเควสต้าหรือเขารูปอีโต้ที่มีการยกตัวของที่ราบสูงโคราช ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่สวยงาม นอกจากนี้แหล่งซากดึกดำบรรพ์ได้รับการรับรองโดยการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ โดยฉพาะอย่างยิ่งชากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณ ซึ่งมีความหลากหลาย โดยพบมากที่สุดถึง 10 สกุล ได้แก่ โปรไดโนธีเรียม , ไดโนธีเรียม  , กอมโฟธีเรียม , เตตระโลโฟคอน , ไซโนมาสโตดอน , โปรตานันดัส , สเตโกโลโฟดอน , สเตโกดอน , ไซโกโลโฟดอน และเอลีฟาส รวมทั้งการค้นพบฟอสซิลสัตว์สกุลชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด อาทิ จระเข้ , แรดไร้นอ , ลิงไม่มีหาง , เต่า และ ไดโนเสาร์ ซึ่งแหล่งไดโนเสาร์ มีการพบฟอสซิลมากกว่า 1,000 ชิ้น ฟันมากกว่า 300 ชิ้น พบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก 4 สกุลมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ราชสีมาซอรัส , สุรนารีเอ , สยามโมดอน นิ่มงามมิ (Siamodon nimngami) , สิรินธรน่า โคราชเอนซิส (Khoratous jintasakuli)” และสยามแรปเตอร์ สุจน์ติ (Siamraptor suwati)

ทั้งนี้สำหรับงานมหกรรมเปิดโลกธรณีวิทยาเพื่อการท่องเที่ยวครั้งนี้ กรมทรัพยากรธรณีพร้อมดำเนินกิจกรรมและนิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาในพื้นที่ศักยภาพอุทยานธรณี โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย กิจกรรมท่องเที่ยวโคราชจีโอพาร์ค ผ่านบูธนิทรรศการ “ท่องเที่ยวอุทยานธรณีโคราช” และ “ท่องเที่ยวแหล่งธรรมชาติ ด๊ะดาดในอิสาน”  กิจกรรมประกวด “แฟนซีจีโอพาร์ครักษ์โลก” เน้นความสร้างสรรค์และความสวยงาม พร้อมรับรางวัล  ชมห้องปฏิบัติกรด้านซากดึกดำบรรพ์ และสวนไม้กลายเป็นหิน “ถนนเดินกะหมู่ ดูตลาตอุทยานธรณี” มีการจัดจำลองวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นอุทยานธรณีโคราช การจำหน่ายอาหารพื้นถิ่น และสินค้าผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาอุทยานธรณีโคราชที่นำเอาความโดดเด่นทางธรณีวิทยา มาดัดแปลงให้เป็นสินค้าผลิตภัณฑ์อุทยานธรณีโคราช กิจกรรมประกวดวาดภาพภายใต้ธีมงาน “ช้างสี่งาชูตระหง่าน ไดโนเสาร์อลังการสู่อุทยานธรณีโลก”  การแสดงศิลปวัฒนธรมท้องถิ่นเพื่อสร้างความสุขและรอยยิ้มให้กับผู้เข้าร่วมงาน