2 May 2024


ซีพีเอฟ ร่วมพัฒนา “คอนเน็กซ์ อีดี” ผู้นำทางการศึกษาที่ยั่งยืน มุ่งพัฒนาผู้นำทั้งครูและเด็ก ลดเหลื่อมล้ำ

Post on: Sep 13, 2017
เปิดอ่าน: 510 ครั้ง

ซีพีเอฟ ร่วมพัฒนา “คอนเน็กซ์ อีดี” ผู้นำทางการศึกษาที่ยั่งยืน  มุ่งพัฒนาผู้นำทั้งครูและเด็ก ลดเหลื่อมล้ำ สร้างอาชีพให้มั่นคง

ซีพีเอฟ1เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้( 13 กันยายน 2560 ) ที่ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารพิมาย โรงเรียนโรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายเอนก บุญหนุน ประธานบริหารโครงการConnext ED  บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นประธานเปิดโครงการ Connext ED  โดยมีนางแสงจันทร์ เพ็ญจภาค รองผู้อำนวยการโรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล รักษาราชการผู้อำนวยการฯ , นางชรินรัตน์ ตวงศิริกุลวัฒนา ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา บ.แพคริม ฟิวเจอร์ ลีดเดอร์ จำกัด และ นายวิชัย เรียนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกสูง จ.นครราชสีมาร่วมโครงการ  โดย ซีพีเอฟ.สนับสนุนโครงการพัฒนาผู้นำเพื่อการศึกษาที่ยั่งยืน (Connext ED) ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษา และโครงการ หมี่โคราชสร้างเถ้าแก่น้อย “ โรงเรียนประชารัฐ “ อาชีพหมี่โคราช  ซึ่งมุ่งมั่นการสร้างความเป็นผู้นำ สู่การพัฒนาทักษะในครูและองค์ความรู้ในเด็ก ตลอดจนการสร้างอาชีพตามความถนัดและการมีส่วนร่วมของชุมชน

ซีพีเอฟ2นายเอนก บุญหนุน ประธานบริหารโครงการ Connext ED  กล่าวว่า โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่มาตรฐานสากล โดยเน้นการสร้างศักยภาพและความเชื่อมั่นในตนเองพร้อมที่จะเรียนรู้ให้กับผู้บริหารและเด็กนักเรียน การสนับสนุนเทคโนโลยี ICT (Information Communication Technology) เพื่อเป็นกำลังขับเคลื่อนในการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ โครงการ Connext ED ยังเป็นการนำศักยภาพของคนรุ่นใหม่ในบริษัทเอกชนเข้ามาเป็นอาสาสมัครผู้นำ (School Partner) ในการยกระดับการศึกษาของประเทศด้วย โดยซีพีเอฟ มีอาสาสมัครผู้นำจำนวน 65 คน และมีโรงเรียนในความรับผิดชอบทั้งหมด 195 แห่ง ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์และชัยภูมิ เราต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับระบบการศึกษาไทย เน้นการสร้างผู้นำ โดยให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง และครูคือผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา ขณะเดียวกันการเปิดให้ชุมชนและศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการพัฒนาโครงการด้วยการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และความชำนาญ จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

นายเอนก กล่าวย้ำว่า เป้าหมายของ ซีพีเอฟ คือการปลูกฝังเด็กให้เป็นคนดี มีความรู้ทั้งทางวิชาการและวิชาชีพควบคู่กับคุณธรรม เพื่อให้เด็กสามารถคิดอย่างสร้างสรรค์สามารถเลือกแนวทางการดำเนินชีวิตของตนได้ตามศักยภาพและความถนัดอย่างถูกต้อง โดยอาสาสมัครผู้นำของ ซีพีเอฟ จะร่วมหารือกับผู้บริหารโรงเรียนและครูอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดกิจกรรมให้เหมาะสมกับทั้งตัวครูและนักเรียน รวมถึงการพัฒนาการงานอาชีพให้นักเรียนสามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้ในอนาคต เช่นการเกษตร การปรุงอาหาร การทำอิฐบล๊อก เป็นต้น ซึ่งจะเป็นผลดีในการยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมไทยให้ได้มาตรฐาน ขณะเดียวกันจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน นายเอนกฯกล่าว.

ซีพีเอฟ3นางแสงจันทร์ เพ็ญจภาค รองผู้อำนวยการโรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล (รักษาราชการแทนผู้อำนวยการฯ) กล่าวว่า โรงเรียนเปิดการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิเศษที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและความบกพร่องทางการได้ยิน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การที่ ซีพีเอฟ นำโครงการ“ผัดหมี่โคราช สร้างเถ้าแก่น้อย” มาเป็นกิจกรรมหนึ่งในการฝึกให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเชี่ยวชาญการทำอาหารจะมีส่วนช่วยให้นักเรียนมีการ พัฒนาทางความคิด วิเคราะห์และตัดสินใจได้ดีขึ้นนักเรียนสามารถใช้วิชาความรู้ไปประกอบเป็นอาชีพ เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองหลังจบการศึกษาได้

ทั้งนี้ปัจจุบันโรงเรียนฯมีเด็กนักเรียนที่ได้รับการฝึกหัดการทำผัดหมี่โคราชไปแล้ว 7 คน จากจำนวนที่ได้รับการคัดเลือกมา 15 คน ซึ่งนักเรียนจะได้รับการฝึกฝนจากผู้เชี่ยวชาญการผัดหมี่โคราชชื่อดังประจำจังหวัดมาถ่ายทอดความรู้และสูตรอาหารให้ และมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดือน ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ 70-80% และรสชาติเป็นที่ยอมรับ ซึ่งเด็กนักเรียนมีพัฒนาการดีขึ้นสามารถไปจ่ายตลาดเพื่อซื้อวัตถุดิบตามที่ครูพี่เลี้ยงจดให้ได้ ซึ่งโรงเรียนมีโครงการที่จะพัฒนาเป็นอาชีพให้กับนักเรียน โดยเริ่มจากการทำอาหารกล่องง่ายๆ ขายในโรงเรียนขณะนี้ นางแสงจันทร์ฯ กล่าว.

ซีพีเอฟ4

ซีพีเอฟ5นายวิชัย เรียนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกสูง จ.นครราชสีมา กล่าวว่า การนำหลักสูตรพัฒนาพื้นฐานคนที่ประสบความสำเร็จมาสร้างเป็นเนื้อหาในการพัฒนาผู้นำ เช่น การสร้าง 7 อุปนิสัยของผู้มีประสิทธิภาพสูง (7 Habits of Highly Effective People) มาปลูกฝังตั้งแต่ระดับประถม ทำให้โรงเรียนมีหลักเกณฑ์ชัดเจนในการกำหนดแนวทางและจุดมุ่งหมายที่เป็นรูปธรรม มีกระบวนการบริหารจัดการดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถทำตามขั้นตอนสู่เป้าหมายได้ ซึ่งหลังจากได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันระหว่างผู้เชี่ยวชาญการศึกษา ทำให้ครูมีความเข้าใจและสามารถนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยคำนึงถึงความต้องการและวิถีชีวิตของนักเรียน ทำให้สามารถจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้อย่างเหมาะสม  สำหรับนักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบด้วยความรอบคอบและให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น ตนมีความประทับใจทั้งครูและนักเรียนที่มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งวิธีคิด ความรับผิดชอบ วินัยและคุณธรรม จากเดิมที่เราไม่มีหลักในการคิดชัดเจน ทำให้สอนในแบบนามธรรม ถูกปรับเป็นการสอนแบบรูปธรรมมากขึ้น โดยมีนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน ไม่แยกการสอนเนื้อหาเป็นรายวิชาการ ซึ่งเด็กสามารถทำตามได้ นายวิชัย  กล่าว

ซีพีเอฟ6นางชรินรัตน์ ตวงศิริกุลวัฒนา ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา บ.แพคริม ฟิวเจอร์ ลีดเดอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและอบรมพัฒนาบุคลากรและภาวะผู้นำในโครงการคอนเน็กซ์ อีดี กล่าวว่า จากการติดตามการพัฒนาของโรงเรียนบ้านโคกสูง ภายใต้โครงการ คอนเน็กซ์ อีดี โดยการนำหลักการ 7 อุปนิสัย ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำในตัวเด็กนักเรียนด้วยกระบวนการ The Leader in Me หรือ สร้างผู้นำในตัวฉัน สำหรับโรงเรียนบ้านโคกสูงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีผลลัพธ์ที่จับต้องได้และวัดผลได้ชัดเจนต่อเนื่องและยั่งยืน คือ การที่คุณครู และบุคลากรในโรงเรียนเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง ส่งต่อให้นักเรียนด้วยการบูรณาการหลักสูตรและแผนพัฒนาด้านต่างๆ เช่น จัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ 7 อุปนิสัย ที่นักเรียนได้เรียนรู้จะช่วยให้นักเรียน สามารถดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นความรับผิดชอบ มีวินัย มีเป้าหมายในการทำโครงการ รู้จักควบคุมตัวเองทำสิ่งสำคัญก่อน ทำงานกลุ่มได้ดีแลกเปลี่ยนความคิดกัน และฟังกันและกันแบบเปิดใจ ก็จะทำให้ผลงานออกมาได้อย่างดีเยี่ยม