3 May 2024


ทิ้งให้ถูกที่! ดีแทคจับมือเทส-แอม จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นระบบลดปัญหามิลพิษ

Post on: Nov 26, 2016
เปิดอ่าน: 1,219 ครั้ง

 

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ร่วมมือกับบริษัท ทีอีเอส.เอเอ็มเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด หรือเทส-แอม เดินหน้าโครงการ Think Smart รณรงค์ให้ประชาชนคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ นำโทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ และอุปกรณ์เสริม เช่น หูฟังหรืออะแดปเตอร์ มาทิ้งที่กล่องรับซึ่งดีแทคจัดเตรียมไว้ โดยดีแทคจะรวบรวมและจัดส่งให้เทส-แอม ไปกำจัดหรือรีไซเคิลอย่างถูกวิธีและปลอดภัยThink Smart-web1

ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2558 จัดทำโดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระบุว่า ของเสียอันตรายชุมชนเกิดขึ้นจำนวน 591,127 ตัน แบ่งเป็น ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste from Electrical and Electronic Equipment: WEEE) 384,233 ตัน (ร้อยละ 65) และของเสียอันตรายประเภทอื่นๆ จากชุมชน เช่น แบตเตอรี่ หลอดไฟ ภาชนะบรรจุสารเคมี อีก 206,894 ตัน (ร้อยละ 35) สำหรับการจัดการของเสียอันตรายชุมชน มีการส่งเสริมให้จังหวัดหาพื้นที่เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมของเสียอันตรายชุมชน คัดแยก เก็บรวบรวม และส่งไปกำจัดในสถานที่กำจัดอย่างถูกต้อง โดยในปี 2558 มีศูนย์รวบรวมของเสียอันตรายชุมชนของจังหวัด 83 แห่ง สามารถเก็บรวบรวมของเสียอันตรายชุมชนได้ 42 แห่ง รวม 250 ตัน และส่งไปกำจัดแล้ว 174 ตัน

ปริมาณ WEEE ที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มาจากบ้านเรือนทั่วไป ประชาชนกว่าร้อยละ 50 ขาย WEEE เมื่อไม่ใช้แล้ว ที่เหลือเก็บรวบรวมไว้ทิ้งปนกับขยะมูลฝอยทั่วไปและให้ผู้อื่น การขาย WEEE นี้ รวมไปถึงการแลกคืนเพื่อใช้เป็นส่วนลดในการซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยแม้ว่ายังมีจำนวนน้อย ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นคือ การทิ้งปะปนและการจัดการ WEEE โดยผู้รับซื้ออย่างไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมThink Smart-web2

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กำหนดโรดแมพเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายได้อย่างยั่งยืน ผลักดันให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนแม่บทบริหารจัดการขยะมูลฝอย (พ.ศ.2559 – 2564) พร้อมมุ่งส่งเสริมภาคเอกชนที่ดำเนินงานระบบเก็บรวบรวม ขนส่ง และกำจัดของเสียอันตราย โดยดีแทค เป็นผู้นำร่องเรื่องการรณรงค์ให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือคัดแยกขยะ ไม่ทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสื่อมสภาพซึ่งถือเป็นของเสียอันตรายปนกับขยะทั่วไป เพื่อช่วยลดรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดมลพิษต่อระบบนิเวศและมนุษย์

นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค กล่าวว่า “ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวน 83 ล้านเลขหมาย โดยทั่วไป โทรศัพท์มือถือมีวงจรชีวิตสั้นกว่า 2 ปี แบตเตอรี่มีวัฏจักรชีวิตของการชาร์จที่ 200 รอบ หรือ 1 ปี 4 เดือน นอกจากนั้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสนองตอบความต้องการและรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ รวมถึงราคาของสมาร์ทโฟนที่ต่ำกว่า 10,000 บาท ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ ยอดขายสมาร์ทโฟนจึงเพิ่มขึ้นร้อยละ47  โดยมีจำนวนถึง 22 ล้านเครื่อง ในปี 2558 โดยผู้บริโภคอาจลืมนึกถึงการจัดการผลิตภัณฑ์เก่าที่ไม่ต้องการ และซากของผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุ”

“ดีแทคได้ดำเนินโครงการ ‘Think Smart’ มาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี เพื่อแสดงความรับผิดชอบในฐานะที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ตั้งจุดรับทิ้งโทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เสื่อมสภาพ เช่น หูฟังหรืออะแดปเตอร์ ที่สำนักงานบริการลูกค้าของดีแทค และองค์กรพันธมิตรต่าง ๆ จำนวน 120 แห่ง เพื่อคัดแยกขยะ จัดเก็บ และส่งให้เทส-แอมไปกำจัด หรือรีไซเคิลอย่างถูกวิธีและปลอดภัย จนถึงปัจจุบัน ปริมาณขยะที่ดีแทค รวบรวมและนำส่งไปจัดการมีจำนวนมากกว่า 1.5 ล้านชิ้น ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 18.87 ล้านกิโลกรัม พร้อมกันนั้น ยังได้จัดแคมเปญให้ความรู้แก่ลูกค้า ประชาชนทั่วไป ร่วมสร้างหัวใจที่ดูแลใส่ใจและตระหนักเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ดีแทคยังพร้อมสนับสนุนร่างกฎหมายที่กำกับดูแลการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการเฉพาะ เพื่อให้เกิดระบบการจัดการซากผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ” นางอรอุมากล่าวเพิ่มเติมThink Smart-web3

นายลุค เบอร์นาร์ดุส สโคลเตอ แวน มาสท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีอีเอส.เอเอ็มเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด หรือเทส-แอม กล่าวว่า “กลุ่มบริษัทเทส-แอม ให้บริการรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นบริษัทแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับ R2Certificate จากสหรัฐอเมริกา รับรองว่าได้มาตรฐานในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังได้รับมาตรฐาน ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001 และ ISO/IEC 27001:2013 เมื่อดีแทครวบรวมโทรศัพท์และอุปกรณ์เสื่อมสภาพส่งให้ เทส-แอมจะนำไปสกัดโลหะมีค่า ถือเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ต้องสกัดโลหะเหล่านั้นจากการขุดเหมืองแร่ และยังเป็นการลดรอยเท้าคาร์บอน เนื่องจากการนำโทรศัพท์มือถือกลับมารีไซเคิล 1 เครื่องนั้น จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนได้ 12.585 กิโลกรัมอีกด้วย”

Think Smart-web4

dtac and TES-AMM join forces to save the earth by helping public sector in pollution management

Total Access Communication PLC. or dtac partners up with TES-AMM (Thailand) Co. Ltd. to launch ‘Think Smart’ project, that encourages people to properly manage the electronic waste by bringing old mobile phones including batteries and accessories into designated boxes provided by dtac. dtac will later collect and deliver them to TES-AMM for appropriate disposal and recycling.

According to Thailand State of Pollution Report 2015 provided by the Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment, 591,127 tonnes of community hazardous waste were generated in 2015. These can be categorized into waste from electrical and electronic equipment (or WEEE) at 384,233 tonnes or 65% and other community hazardous waste such as batteries, light bulbs, and chemical containers at 206,894 tonnes or 35%. As for the hazardous waste management, the provincial administrations were tasked with providing areas for proper community hazardous waste collection and disposal. In 2015, there were 83 community hazardous waste centers; 42 of them were in use and could collect 250 tonnes of community hazardous waste, as 174 tonnes of these were disposed.

Most of the WEEE came from general households. More than 50% of the population sold their WEEE when it was no longer in use while the rest either dumped WEEE alongside other waste or given away. The selling programs of WEEE, included buyback schemes that offered a discount for new electronic devices, are only accounted for a small amount. The main problem was the mixing of WEEE with regular municipal solid waste by waste handling contractors who operated with risks to the environment and the public health.

Ministry of Natural Resources and Environment has come with the roadmap for sustainable reduction of problems caused by waste and hazardous waste management and pushed all relevant organizations to really implement the National Master Plan on Waste Management Act B.E. 2559 – 2564 (2016 – 2021). The master plan supports the private sectors to collect, transport, and dispose of hazardous waste. Thus, dtac has launched a pilot campaign to encourage customers to properly manage WEEE by not dumping them with other waste to help reduce the carbon footprint, contributing pollutants on ecosystems and humans.

Mrs. On-uma Rerkpattanapipat, Head of Communications and Sustainability Division, Total Access Communication PLC. or dtac, said “There are currently 83 million mobile phone subscribers in Thailand. Generally, the life cycle of a cell phone is shorter than 2 years and its battery’s lifetime is around 200 charge cycles or 1 year and 4 months. Moreover, since the advanced technology plays a vital role in developing new products to meet the demands and novel applications and most of the smartphones cost less than 10,000 Baht, these bring up an increase of 47 percent in smart phone sales, reaching 22 million units in 2015. Consequently, some consumers might not have an awareness of unwanted devices and their deteriorated and expired accessories.”

“dtac has launched ‘Think Smart’ project for more than 10 years to show responsibility as a company running business based on electronic devices. We have assigned 120 designated places for customers to drop their unused batteries and accessories and then passed them on to TES-AMM for appropriated disposal and recycling. dtac has collected over 1.5 million pieces of electronic waste since the launch of the project and reduced carbon dioxide emission by 18.87 million kilograms. Additionally, the events have been held to give people knowledge and public awareness of sustainable pollution solutions. dtac is also ready to give full support for upcoming WEEE management laws or regulations in order to implement an effective system to handle WEEE.” added Mrs. Rerkpattanapipat.

Mr. Luc Bernardus Scholte van Mast, Managing Director of TES-AMM (Thailand) Co. Ltd. said “TAS-AMM Group is a leading company in providing electronic waste (e-waste) recycling services and also the first in Asia to receive certification on Responsible Recycling (R2) from USA. In addition, TES-AMM is ISO9001, ISO14001, and OSAS18001 certified. These standards guarantee an e-waste management through appropriate processes and standards. dtac has collected unused mobile phones and deteriorated accessories and brought them to TES-AMM for extraction of precious metals. This results in environmental preservation by helping reduce the need of mining and carbon footprint. By bringing one cell phone to recycling process, this can reduce carbon dioxide emission, the cause of global warming, by 12.585 kilograms.”