2 May 2024


“สราวุฒิ” นั่งต่อ “ผอ.ซินโครตรอน” แสงแห่งสยามโคราชอีกสมัย

Post on: Jun 7, 2016
เปิดอ่าน: 2,383 ครั้ง

กรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน นำโดย รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) หรือแสงแห่งสยาม ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา มีมติ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสมัยที่ 2  วาระ 4 ปี ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 31 พฤษภาคม 2563

ซินโครตรอนได้ ผอ ใหม่-web2ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร นับเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทั้งสายงานทางด้านวิชาการ และงานบริหาร สร้างชื่อเสียงให้กับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ผลักดันผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคเศรษฐกิจและสังคม อาทิ ผลิตเครื่องต้นแบบชุดแสดงผลอักษรเบรลล์ 20 เซลล์ และขอพระราชทานพระวโรกาสทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องต้นแบบ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และขอพระราชทานพระราชานุญาตผลิตเครื่องดังกล่าวจำนวน 200 เครื่องโดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อมอบให้โรงเรียนสอนคนตาบอดทั่วประเทศ   ร่วมแก้ปัญหาการเกิดลายไม้บนเหล็กรีดร้อนด้วยแสงซินโครตรอน ลดการสูญเสียจากการผลิตได้กว่า 40 ล้านบาท/ปี  วิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติกในระดับโมเลกุลเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งสามารถเพิ่มยอดขายได้กว่า 60 ล้านบาท/ปีร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี พัฒนาเครื่องเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์ ขนาด 2.4 เมตรด้วยฝีมือคนไทย ประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้ถึง 36 ล้านบาท  การสร้างความร่วมมือกับองค์กรระดับโลกอย่างเซิร์น เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเครื่องเร่งอนุภาค ฟิสิกส์อนุภาคของไทย

ผอ ซินโครตรอน -web1

โดยผลการประเมินมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากการดำเนินงานของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ประจำปี 2558 ซึ่งจัดทำโดยศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า สถาบันฯ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้กว่า 1,200 ล้านบาท และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึง พ.ศ.2558 สถาบันฯ มีโครงการของผู้ใช้แสงซินโครตรอนภาคอุตสาหกรรม เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 42

เครื่องเคลือบกระจก-web1

เครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์-web1

นอกจากนี้ ยังประสบผลสำเร็จในการจัดงานประชุม Thailand Synchrotron Conference and Exhibition 2016 ซึ่งถือเป็นงานประชุมและแสดงนิทรรศการที่เต็มรูปแบบครั้งแรกของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน โดยเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนให้กับอุตสาหกรรมทั้งรายใหญ่และรายย่อย (SME)
ลายไม้บนแผ่นเหล็กรีดร้อน-web1

ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า “ด้วยศักยภาพของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนในปัจจุบันที่สามารถรองรับงานวิจัยได้หลากหลายเพิ่มมากขึ้น นโยบายบริหารหลังจากนี้จะยกระดับผลงานวิจัยและพัฒนาด้านแสงซินโครตรอนให้เป็นที่ยอมรับและถูกเผยทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ รวมไปถึงจะพัฒนาสร้างห้องปฏิบัติการความเป็นเลิศด้านแม่เหล็ก สุญญากาศ ระบบหล่อเย็นยิ่งยิ่งยวด ระบบคลื่นวิทยุและไมโครเวฟกำลังสูง เพื่อเป็นรากฐานก่อกำเนิดธุรกิจ Startups อีกทั้งจะวางแนวทางพัฒนาองค์กรไปสู่ High Performance Organization-HPO หรือองค์กรสมรรถนะสูง เพื่อนำพาองค์กรก้าวไปสูความเป็นเลิศ นอกจากนี้จะต้องเตรียมความพร้อมเสนอโครงการสำหรับเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนขนาด 3 GeV ให้ประเทศไทยมีเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศ”

ซินโครตรอนได้ ผอ ใหม่-web2