27 April 2024


โคราชเดินหน้าเต็มสูบ! เกษตรแปลงใหญ่แจ้งเกิดแล้ว 254 กลุ่มรายได้เพิ่มกว่า 340 ล. เร่งผุด“ศพก.”ดันสู่ความมั่งคั่งยั่งยืน(ชมคลิป)

Post on: Mar 29, 2018
เปิดอ่าน: 867 ครั้ง

 

โคราชเดินหน้าเต็มสูบ “เกษตรแปลงใหญ่” แจ้งเกิดแล้ว  254 กลุ่ม 3.8 แสนไร่ เกษตรกร 2.5 หมื่นราย รวม 18 ชนิดสินค้า รายได้เพิ่มกว่า 340 ล้าน ตั้งเป้าพัฒนาคุณภาพคนและผลผลิต พร้อมผุด “ศพก.” ศูนย์แหล่งเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรทั้ง 32 อำเภอ  ดันเกษตรกรก้าวสู่ความเข้มแข็งมั่งคั่งยั่งยืน บริหารด้วยตนเองเบ็ดเสร็จครบวงจรทั้งการผลิต การจัดการและการตลาด

เกษตรแปลงใหญ่20นางธัญธิตา ศรีสุระ  หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า  การดำเนินการในระบบส่งเสริมการเกษตร โดยเฉพาะการเป็นกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ที่คาดหวังว่าจะให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการ ทั้งด้าน การผลิต  การจัดการและการตลาด เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความมั่งคั่งยั่งยืนให้แก่เกษตรกร นั้น ต้องเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ ข้อมูล สินค้า และคน การจะส่งเสริมอะไร ต้องดูศักยภาพพื้นที่และคนเป็นหลัก โดยใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นศูนย์ฯ หลักในการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวทั้งนี้ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขั้นร่วมกัน เพราะศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพฯ  นี้เป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรก่อนที่จะนำไปปฏิบัติในแปลงของตนเอง  เพื่อก้าวไปสู่สมาร์ท เริ่มตั้งแต่ สมาร์ทโปรดักส์ , สมาร์ทฟาร์มเมอร์ และพัฒนามาเป็น สมาร์ทกรุ๊ป สุดท้ายพัฒนาไปสู่กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ที่คาดหวัง เป็นการบริหารจัดการตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต ผลลัพธ์ที่ได้คือ คุณภาพชีวิตเกษตรกรดีขึ้น และมีรายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินเกษตรกรลดลง มีชีวิตครอบครัวที่มั่งคั่งยั่งยืนอย่างแท้จริง

นายธัญธิตา เกษตรจังหวัด1สำหรับจังหวัดนครราชสีมา นั้น เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 ปัจจุบันมีเกษตรแปลงใหญ่อยู่ทั้งหมด 254 แปลง 18 ชนิดสินค้า  รวมพื้นที่ 385,131 ไร่  รวมเกษตรกร 25,285 ราย มีรายได้เพิ่มจากเดิมรวมจำนวน 349 บ้านบาท  ได้แก่ ข้าว, มันสำปะหลัง, ข้าวโพด, อ้อย ,ผัก, ไม้ผล (น้อยหน่า,ขนุน,มะขามเทศ,กล้วยหอม, ละมุด), กาแฟ,ไม้ดอก (เบญจมาศ) , ยางพารา,หม่อนไหม,ประมง (ปลานิล) และปศุสัตว์ (กระบือ,โคเนื้อ,โคนม) โดย แบ่งเป็นด้านพืช 236 แปลง,ด้านปศุสัตว์ 14 แปลง, ด้านประมง 1 แปลง, ด้านหม่อนไหม 3 แปลง

อาทิ กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว ที่เข้าร่วมโครงการสามารถต้นทุนการผลิตลงได้ถึงร้อยละ 30 เช่น จากเดิมต้นทุนการทำนาก่อนเข้าร่วมโครงการไร่ละ 4,684 บาทผลผลิตต่อไร่ 450 บาท ปัจจุบันต้นทุนการผลิตลดลงเหลือไร่ละ 3,278 บาท และมีผลผลิตต่อไร่ถึง 585 บาทเป็นต้น ขณะนี้เกษตรกรบางกลุ่มสามารถผลิตข้าวส่งขายไปยังตลาดภายนอก รวมถึงส่งไปขายต่างประเทศได้แล้วเกษตรแปลงใหญ่7

สำหรับในปี 2561 เป้าหมาย คือการพัฒนาคนและสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ โดยต้องการให้กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดการสินค้าของตนเอง ตั้งแต่การผลิตและการตลาดได้อย่างครบวงจร และรวมกลุ่มกันได้อย่างเหมาะสม  โดยพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ที่เด่นชัดคือ ที่ อ.สูงเนิน มีทั้งแปลงใหญ่ ข้าว มันสำปะหลัง ไม้ดอก และกาแฟ บางกลุ่มสามารถพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนสามารถบริหารจัดการด้วยตัวเองได้แล้ว

นายอรุณ1

ด้าน นายอรุณ  ขันโคกสูง  ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมามี ศพก. อยู่ทั้งสิ้น 32 และมีศูนย์เครือข่ายอีก 290 ศูนย์ โดย ศพก.ที่พัฒนาตัวเองและสามารถให้ความรู้แก่เกษตรกรได้ มีประมาณร้อยละ 50 ที่เหลือเป็นระดับบี ขณะนี้กำลังพัฒนาให้เป็นระดับเอ และเอบวก ให้มากที่สุด โดยส่วนใหญ่ระดับเอจะเป็นสินค้าเกษตรข้าว และเกษตรผสมผสาน เพราะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกษตรกรได้มาใช้ประโยชน์และหาความรู้ก่อนไปลงมือทำในแปลงของตนเองเกษตรแปลงใหญ่2เกษตรแปลงใหญ่3

ทางด้าน นายชนิด จงสูงเนิน  เกษตรกรทำไร่นาแปลงใหญ่ส่วนผสม  ตำบลมะเกลือใหม่ และ เจ้าของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อ.สูงเนิน  กล่าวว่า ที่ดิน 15 ไร่ 2 งานถูกจัดสรรมาจากที่ดิน สปก. ที่ภาครัฐแบ่งให้แก่เกษตรกรได้ทำกิน ตนได้พลิกผืนดินด้วยการแบ่งเป็นพื้นที่ทำนา ทำสวน ปลูกไม้ผล พืชไร่ เลี้ยงสัตว์หรือประมง ที่เหลือก็ขุดสระน้ำเพื่อกักเก็บน้ำใช้ในการปลูกพืช เลี้ยงปลาหรือเลี้ยงเป็ด และพื้นที่ 2 งาน จัดแบ่งเป็นที่อยู่อาศัย พร้อมกับได้ยึดหลักปฏิบัติตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ของพ่อหลวงมาปรับใช้ในพื้นที่

จากประสบการณ์ที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวมีความเสี่ยงสูงต้องประสบภัยทางธรรมชาติหรือศัตรูพืช แต่เมื่อได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เกษตร ให้ปรับเปลี่ยนมาทำไร่นาสวนผสมความเสี่ยงภัยลดลง ผลผลิตที่ได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งแบ่งบริโภคในครัวเรือนและยังมีอีกส่วนหนึ่งนำไปขายทำให้มีรายได้พอเพียงและมั่นคงยิ่งขึ้น วันนี้มีเกษตรกรมาศึกษาดูงานเพื่อนำไปปรับใช้กับพื้นที่ของตนเองได้

เกษตรแปลงใหญ่4 เกษตรแปลงใหญ่5อนึ่งจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดใหญ่ มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย  แบ่งเขตการปกครองได้  32 อำเภอ จำนวน 287 ตำบล 3,739 หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด 2.53 ล้านคน มีพื้นที่ทั้งหมด 12.8 ล้านไร่ แยกเป็นพื้นที่ ทำการเกษตร 8.9 ล้านไร่ ครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 310,184  ครัวเรือน(ร้อยละ 46.14 ของครัวเรือนทั้งจังหวัด) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน จำนวน 3,755 คน โดยแยกเป็นพื้นที่นา จำนวน 3.9 ล้านไร่ (พื้นที่นาในเขตชลประทาน 0.78 ล้านไร่ พื้นที่นอกเขตชลประทาน 3.12 ล้านไร่) พืชไร่ จำนวน 3.8 ล้านไร่ ได้แก่ มันสำปะหลัง 1.9 ล้านไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 0.87 ล้านไร่ และอ้อยโรงโรงงาน 0.77 ล้านไร่ พืชสวน 0.62 ล้านไร่ พื้นที่อื่นๆ 0.6 ล้านไร่ ปี 2556 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด จำนวน 242,476 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว จำนวน 44,703  บาท  มีมูลค่าเพิ่มภาคเกษตร  50,206 ล้านบาท  แยกเป็น ข้าว ประมาณ 26,700 ล้านบาท  มันสำปะหลัง ประมาณ 18,000 ล้านบาท อ้อยโรงงาน ประมาณ  7,600 ล้านบาท ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ประมาณ  5,600 ล้านบาท เกษตรกรมีรายได้ภาคการเกษตร ประมาณ 60,292 บาท/ครัวเรือน และรายจ่ายภาคการเกษตรประมาณ 44,277 บาท/ครัวเรือน

เกษตรแปลงใหญ่6เกษตรแปลงใหญ่8 เกษตรแปลงใหญ่9 เกษตรแปลงใหญ่10 เกษตรแปลงใหญ่11 เกษตรแปลงใหญ่12 เกษตรแปลงใหญ่13เกษตรแปลงใหญ่14 เกษตรแปลงใหญ่15 เกษตรแปลงใหญ่16 เกษตรแปลงใหญ่17 เกษตรแปลงใหญ่18 เกษตรแปลงใหญ่19