28 April 2024


สัตว์ชนิดใหม่ของโลก! สวนสัตว์โคราชเปิดตัว”งูปี่แก้วไทรโยค” สัตว์หายาก โชว์ให้นักท่องเที่ยวชมแค่ 3 เดือน(ชมคลิป)

Post on: Apr 5, 2018
เปิดอ่าน: 1,139 ครั้ง

 

สัตว์ชนิดใหม่ของโลก! สวนสัตว์โคราชเปิดตัว”งูปี่แก้วไทรโยค” สัตว์หายาก โชว์ให้นักท่องเที่ยวชมแค่ 3 เดือน

งูปี่แก้วไทรโยคสัตว์ค้นพบใหม่1วันนี้ (4 เม.ย. 61) ที่โซนอาณาจักรสัตว์เลื้อยคลาน ภายในสวนสัตว์นครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้มีการเปิดตัวสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ที่เพิ่งค้นพบในประเทศไทย คือ “งูปี่แก้วไทรโยค” โดยทางสวนสัตว์ได้นำออกมาจากห้องวิจัย จำนวน 2 ตัว มาจัดแสดงไว้ที่บริเวณอาณาจักรสัตว์เลื้อยคลาน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชม ตลอด 3 เดือน ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายนนี้

นายเทวินทร์ รัตนะวงศะวัต ผู้อำนวยการสวนสัตว์นครราชสีมา เปิดเผยว่า งูปี่แก้วไทรโยคที่เพิ่งค้นพบนี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายอนุรักษ์วิจัยสวนสัตว์นครราชสีมา ได้ลงพื้นที่สำรวจ เมื่อปี 2559 และค้นพบที่ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เมื่อนำมาทำการวิจัยอย่างละเอียดแล้วจึงรู้ว่าเป็นงูที่ไม่เคยเห็นที่ใดมาก่อน จึงได้ลงตีพิมพ์ในวารสารสัตว์ค้นพบใหม่ ให้เป็นงูชนิดใหม่ของโลก ซึ่งตั้งชื่อว่า “งูปี่แก้วไทรโยค” เนื่องจากพบได้เพียงที่ จ.กาญจนบุรีเท่านั้น

งูปี่แก้วไทรโยคสัตว์ค้นพบใหม่2โดยงูปี่แก้วไทรโยคนี้ เป็นงูในกลุ่มสัตว์ไม่มีพิษ จะมีลำตัวค่อนข้างเรียว สีน้ำตาลอมเทา ท้องมีลายจุดสีน้ำตาลอมเทา เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดยาวประมาณ 560 เซนติเมตร มีฟันที่แหลมคมมาก ชอบกินไข่งูมีพิษ เช่น ไข่งูจงอาง และไข่งูเห่า ที่ผ่านมาทางทีมวิจัยได้สำรวจตามรังงูจงอาง และงูเห่า ที่มีไข่ มักจะพบงูปี่แก้วไทรโยคอยู่เกือบทุกรัง ซึ่งงูชนิดนี้จะใช้ฟันอันแหลมคม เจาะให้ไข่แตก แล้วเข้าไปกินเนื้อไข่งูจงอาง และงูเห่าจนหมด จึงถือว่าเป็นงูที่ช่วยควบคุมประชากรงูพิษร้ายแรงได้เป็นอย่างดี

สำหรับงูปี่แก้วไทรโยค ชื่อสามัญ: Saiyok Kukri Snake สถานภาพ: เป็นสัตว์สัตว์เฉพาะถิ่นของไทย ปัจจุบันพบบริเวณ จ. กาญจนบุรี เป็นกลุ่มงูปี่แก้ว/งอดขนาดกลาง ลำตัวค่อนข้างเรียวสีน้ำตาลอมเทา งูชนิดนี้มีความต่างของลายเป็น 2 แบบ คือ ลายแต้มสีน้ำตาลเข้มสลับกับลายขีดขวาง และลายมีแถบสีอ่อนคาดขวางตลอดลำตัวและหาง ซึ่งลักษณะลายที่ต่างกันในลักษณะดังกล่าวเคยพบในงูคุด (Oligodon purpurascens) มาก่อน (van Rooijen et al. 2011) ท้องมีลายจุดสีน้ำตาลอมเทา สูตรเกล็ดหลัง 17-17-15 เนื่องจากงูชนิดนี้มีการลดจำนวนแถวเกล็ดหลังบริเวณกลางลำตัว มีฟันบนขากรรไกรบน 13 ซี่ โดยเป็นฟันขนาดเล็ก 11 ซี่ และขนาดใหญ่ 2 ซี่ อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ยาวถึงเกล็ดใต้หางชิ้นที่ 18 เพศผู้ มีเกล็ดท้อง 187 ชิ้น เกล็ดใต้หาง 43 คู่ (ข้อมูลจากชุดตัวอย่างต้นแบบเท่านั้น)เป็นงูที่ไม่ก้าวร้าวนัก ถิ่นอาศัยชอบอยู่เขาหินปูน ป่าดิบแล้ง

สัตว์เลื้อยคลาน6สัตว์เลื้อยคลาน1อย่างไรก็ตามงูปี่แก้วไทรโยค จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานที่หาดูได้ยาก เพราะมีถิ่นอาศัยอยู่แคบๆ จะพบได้เฉพาะที่ จ.กาญจนบุรีเท่านั้น ซึ่งทางสวนสัตว์นครราชสีมา ได้นำออกมากจากห้องวิจัย เพื่อมาจัดแสดงให้ประชาชนได้ชมตลอด 3 เดือนนี้
ฉะนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่นักท่องเที่ยว จะได้ชมสัตว์หายากนี้อย่างใกล้ชนิด นอกจากนี้ในโซนสัตว์เลื้อยคลานของสวนสัตว์นครราชสีมา ยังมีสัตว์เลื้อยคลานหายากชนิดอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ งูหัวกะโหลกไทย, จิ้งเหลนด้วงลาย, จิ้งเหลนเรียวโคราช, กิ้งก่าหนามสั้น, กิ้งก่าบินปีกลาย, เขียดงูเกาะเต่า, งูกินทากเกล็ดสัน, ตุ๊กกายสนุก, ตุ๊กแกบินลายสามแถบ และงูเขียวหางไหม้ตาโต เป็นต้น

สัตว์เลื้อยคลาน4 สัตว์เลื้อยคลาน5สัตว์เลื้อยคลาน2 สัตว์เลื้อยคลาน3 สัตว์เลื้อยคลาน7 สัตว์เลื้อยคลาน8 สัตว์เลื้อยคลาน9 สัตว์เลื้อยคลาน10 สัตว์เลื้อยคลาน11