29 April 2024


ชูโคราชเมืองเป็นกลางทางคาร์บอน ภาคเอกชนโคราชตื่นตัวเร่งลดต้นเหตุการเกิดภาวะโลกร้อนแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

Post on: Aug 15, 2023
เปิดอ่าน: 141 ครั้ง

 

เอกเทศ โคราชตื่นตัว เร่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมนำร่องจัด“โคราชเมืองเป็นกลางทาง แรนดา 2566” ยกตัวอย่างกรณีเหตุการณ์โลกร้อน

 

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จังหวัดนครราชสีมา) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงานประชุม “โคราช เมืองเป็นกลางทางคาร์บอน ประจำปี 2566 (Korat Carbon Neutrality 2023)” ขับเคลื่อนปัญหาสิ่งแวดล้อม ตามเป้าหมายของประเทศไทย ที่จะเป็นประเทศที่มีคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) จัดโดยสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)

นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า   การจัดประชุม “โคราชเมืองเป็นกลางทางคาร์บอน ประจำปี 2566” (KORAT CARBON NEUTRALITY EXPO 2023) ในครั้งนี้  ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เป็นกิจกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนและผลักดันให้จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ตามนโยบายประเทศ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เรากำลังประสบอยู่ในปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสารพิษ และปัญหาของระบบนิเวศ ซึ่งปัญหาที่สำคัญเหล่านี้มาจากปัญหาย่อย ๆ หลายปัญหา เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่รีบป้องกันแก้ไข อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกันปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันตระหนัก และเห็นความสำคัญ ลงมือทำกันอย่างจริงจัง รู้ยินดีที่ ภาคเอกชน ร่วมใจกับขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทางภาครัฐ พร้อมที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง ทำงานร่วมกัน ในการบูรณาการ เพื่อเห็นสิ่งแวดล้อมเราดียิ่งๆขึ้นและบรรลุเป้าที่เราได้ตั้งไว้

นางธิดารัตน์  รอดอนันต์  ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา  กล่าวว่า ปัจจุบัน Carbon Footprint นับเป็นตัวชี้วัดสำคัญ สำหรับการดำเนินกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์เกือบทุกขั้นตอน เพื่อที่จะควบคุมไม่ให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนั่นเองCarbon Footprint คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวัน การคมนาคมขนส่ง การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ การดำเนินชีวิตประจำวันของเราทุกคน หรือแม้กระทั่งของเสียที่เกิดจากอาหารในแต่ละวัน ล้วนแต่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น

เป้าหมายของประเทศไทย ที่จะเป็นประเทศที่มีคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) ซึ่งประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรก ๆ ของโลก ที่ตั้งเป้าหมายและกรอบมาตรฐานอย่างชัดเจนในการดำเนินเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้ต้องมีการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จัดงานประชุม “โคราช เมืองเป็นกลางทางคาร์บอน ประจำปี 2566 (Korat Carbon Neutrality 2023)” เพื่อให้หน่วยงานภาคอุตสาหกรรมที่เป็นสมาชิกภายในสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ผู้ประกอบการธุรกิจ เครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาชน และเครือข่ายความร่วมมือในต่างประเทศ ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาวิธีและวางแผนที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งในงานนี้จะเน้นทั้งในด้านองค์ความรู้คาร์บอนฟุตพรินท์องค์กร ซึ่งเกี่ยวกับการจัดการปล่อยคาร์บอน และในด้านคาร์บอนเครดิตซึ่งเกี่ยวกับโครงการลดการปลดปล่อยหรือการดูดกลับคาร์บอน รวมทั้งองค์ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC)