ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ การขอมาตรการเยียวยา
ความเข้าใจผิด | ความเป็นจริง | |
1 | ไม่เยียวยา ก็ไม่มีใครเดือดร้อน | เมื่อหมดสัมปทาน หากดับโครงข่ายทันที ผู้ใช้งานที่เหลือในระบบ จะไม่สามารถโทรออก รับสาย รับ-ส่งข้อความ และใช้งานเน็ตอื่นๆ ได้ เพราะซิมดับ โดยผู้ใช้งานเหล่านี้เป็นไปได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และมีความล่าช้าในการย้ายโครงข่ายเพราะเป็นผู้สูงอายุ กฎหมาย กสทช เรื่องมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการจึงกำหนดให้ กสทช และผู้ให้บริการ ต้องเยียวยาผู้ใช้บริการต่อไปชั่วคราว จะดับโครงข่ายไม่ได้
ในปี 2556 สัมปทานทรูและเอไอเอส 1800 MHz ก็หมดลง แต่ทั้งสองค่ายก็ยังคงให้บริการต่อไปตามกฎหมาย กสทช เรื่องมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการ โดยให้บริการถึงสองปีหลังจากสัมปทานหมดลง
ลูกค้าดีแทค ควรได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย กสทช เช่นเดียวกับ ลูกค้าอีกสองค่าย โดยควรสามารถใช้บริการได้ไปพลางก่อนในช่วงเปลี่ยนผ่าน |
2 | ดีแทคขอเยียวยาเพื่อหาประโยชน์ในการใช้คลื่น “ฟรี” | ไม่เป็นความจริง เมื่อ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา ดีแทคได้ยื่นแผนคุ้มครองลูกค้าที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งยังคงใช้งานมือถือบนคลื่น 850 MHz และ 1800 MHz โดยระบุชัดในแผนว่า ดีแทคจะจัดส่งรายได้ทั้งหมดจากการให้บริการ หลังจากหักค่าใช้จ่าย ให้แก่ กสทช. เพื่อนำส่งให้เป็นรายได้รัฐต่อไปตามที่กฎหมาย กสทช กำหนด
จึงไม่เป็นการใช้คลื่นความถี่เพื่อการค้าหากำไรอะไรเลย แต่เป็นการให้บริการต่อไปแทนรัฐเพื่อคุ้มครองผู้ใช้งานที่ยังคงใช้งานอยู่บนคลื่นความถี่ที่หมดสัมปทานเท่านั้น |
3 | ดีแทคประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz แค่ 5 MHz เพราะหวังใช้คลื่นที่เหลือด้วยการรับการเยียวยา | แม้บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด จะสามารถประมูลได้คลื่นจำนวน 5 MHz หรือ ได้มาทั้ง 20 MHz หรือไม่ได้คลื่นความถี่มาเลยนั้น ลูกค้าของดีแทคที่ยังใช้งานอยู่บนคลื่นความถี่ในระบบสัมปทานก็ยังจะประสบปัญหาการใช้บริการอยู่ดีและจะซิมด้บ
เนื่องจากเป็นการใช้คลื่นคนละระบบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้งานกลุ่มนี้ต้องได้รับการคุ้มครองตามมาตรการเยียวยา ซึ่งลูกค้าของเอไอเอสและทรูมูฟได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย กสทช ในปี 2556 หลังสัมปทานหมด ลูกค้าดีแทคไม่ควรได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกัน |