3 May 2024


ดีแทคยื่นศาลปกครองกลางขอคุ้มครองชั่วคราวลูกค้าใช้คลื่นมือถือหลังหมดสัมปทาน

Post on: Sep 7, 2018
เปิดอ่าน: 487 ครั้ง

 

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ยื่นฟ้องเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอให้ลูกค้าดีแทคได้รับสิทธิเข้าสู่มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บนคลื่น 850 MHzจนกว่า กสทช. จะนำไปจัดสรรประมูลตามความเหมาะสมต่อไปจากการที่คลื่นความถี่ดีแทคกำลังจะสิ้นสุดสัมปทาน 27 ปีที่ให้บริการ และดีแทคมีหนังสือถึง กสทช. เรียกร้องให้ทบทวนมติเรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหลายครั้ง โดย กสทช. ยังไม่ได้มีมติใดๆ ขณะที่เหลืออีกเพียง 9 วันก่อนสิ้นสุดสัมปทาน ดีแทคจึงต้องยื่นฟ้องเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราว เพื่อสิทธิประโยชน์ของลูกค้าดีแทคในการใช้งานคลื่น 850 MHz

นายราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า“ดีแทคได้พิจารณาถึงสถานการณ์และแนวทาง กสทช. ในขณะนี้โดยเชื่อว่ายังไม่สามารถมีข้อสรุปได้ แม้ว่าจะมีการกำหนดในประกาศฯ ของ กสทช. และตัวอย่างที่ผ่านมากับผู้ประกอบการรายอื่น ดังนั้น เพื่อให้ลูกค้าดีแทคได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในการคุ้มครองชั่วคราว เราจึงต้องดำเนินการด้านกฎหมายเพื่อลูกค้าของเรา”

ดีแทคมีลูกค้าในระบบสัมปทานกับ CAT จำนวน 90,000 ราย โดยมีลูกค้าดีแทคไตรเน็ต หรือ DTN อีกเป็นจำนวนมากที่ใช้บริการข้ามโครงข่ายภายในประเทศ (Domestic Roaming) บนคลื่น 850 MHz ทั่วประเทศ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบการใช้งานของลูกค้า ซึ่งถือว่าทั้ง กสทช. ดีแทค และ CATมีหน้าที่ในการดูแลคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบในการที่จะต้องให้บริการตามประกาศ กสทช. อีกด้วย

ที่ผ่านมา ดีแทค และ CAT ได้ร่วมยื่นแผนคุ้มครองลูกค้ากรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน ต่อ กสทช. เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2561 เพื่อปฏิบัติตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้สัญญาให้บริการเดิม เพื่อให้ลูกค้าดีแทคที่ยังอยู่ในระบบสัมปทานเดิม ซิมไม่ดับและมั่นใจในการใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กสทช. ได้เคยอนุมัติการเยียวยาแก่ผู้ให้บริการรายอื่นที่เป็นคู่แข่งของดีแทคเป็นระยะเวลา 9 เดือน และ 26 เดือน แต่กรณีดีแทคกำลังจะหมดสัมปทานคลื่น 850 MHz กสทช. ได้มีเงื่อนไขในการอนุมัติการคุ้มครองถ้าดีแทคเข้าประมูลคลื่น 900 MHz

“ที่ผ่านมา ไม่เคยเกิดเงื่อนไขและสถานการณ์ที่จะปฏิเสธการคุ้มครองผู้ใช้งานมือถือ สำหรับลูกค้าดีแทคได้ใช้งานคลื่น 850 MHz แต่การนำคลื่นมาประมูลเป็นคลื่น 900 MHz ซึ่งไม่ใช่คลื่น 850 MHz ในทางปฏิบัติต้องใช้เวลาประมาณ 24 เดือนเพื่อการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่จำนวนมากกว่าหมื่นแห่ง อย่างไรก็ตาม ไม่มีผู้ประกอบการรายใดสนใจเข้าประมูลคลื่น 900 MHz ที่จัดขึ้นเนื่องด้วยเงื่อนไขการประมูลที่กำหนดขึ้นเป็นเรื่องที่ปฎิบัติไม่ได้” นายราจีฟ กล่าว

ถ้าศาลมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิการใช้งานของลูกค้าดีแทคบนคลื่น 850 MHz รายได้จากการให้บริการที่เกิดขึ้นในช่วงการคุ้มครองจะถูกนำส่งให้รัฐหลังหักค่าใช้จ่าย ซึ่งทำให้รัฐไม่เสียผลประโยชน์ใดๆ แต่ถ้าทิ้งคลื่นไม่ใช้งานจะนำความเสียหายมาสู่ทั้งรัฐและผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ การคุ้มครองการใช้งานชั่วคราวจึงเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย

ดีแทคจะดำเนินการแจ้งลูกค้าในรายที่ได้รับผลกระทบจากกรณีที่ไม่ได้รับการคุ้มครองคลื่นความถี่จาก กสทช. โดยดีแทคกำลังเร่งขยายพื้นที่การให้บริการทั้งคลื่น 2100 MHz และ คลื่น 2300 MHz ของทีโอที อย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาสัญญาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

dtac files complaint for temporary protection of its customers

Today, dtac filed a lawsuit before the Central Administrative Court for the temporary protection of its customers, in response to the National Broadcasting and Telecommunications Commission’s refusal to allow dtac customers to use the 850 MHz spectrum band until the NBTC successfully organizes a new auction of such spectrum with proper conditions.

The spectrum in question is under a concession from CAT lasting 27 years and ending September 15, 2018. Despite multiple requests for relief measures, the NBTC has yet to grant remedy to dtac’s customers. With nine days left before the end of concession, dtac is therefore forced to take action to protect its customers by petitioning the courts to allow customers to continue using the 850 MHz network until the court issues a final verdict on the case or until the remedy period is ended in accordance with the NBTC regulation.

Mr. Rajiv Bawa, Chief Corporate Affairs and Business Development Officer, Total Access Communication PLC or dtac said: “We view with grave concern the NBTC’s inability to arrive at a conclusion to this matter, despite the existence of a legal framework as well as the existence of precedence involving other operators. To protect our customers, we have no choice but to file a case for temporary protection.”

On top of the 90,000 dtac customers under concession with CAT, there are many dtac TriNet customers regularly roaming on 850 MHz for nationwide coverage. Ensuring uninterrupted coverage for dtac customers is a joint responsibility of the NBTC, CAT and dtac. It is also a legal obligation under the Remedial Measures Notification of the NBTC.

On June 7, dtac and CAT submitted a joint letter to the NBTC asking for the right to provide 850 MHz services after the end of concession in accordance with the NBTC Remedial Measures Notification In the past, NBTC granted such a protection to customers of dtac’s competitors for durations between 9 to 26 months. But in dtac’s case, NBTC made customer protection on 850 MHz conditional upon dtac’s participation in the spectrum auction for 900 MHz.

“This is an unprecedented condition and such refusal to give remedy will cause irrevocable damage to dtac customers using our 850 MHz network. The 900 MHz bandwidth put on auction and the concession spectrum 850 MHz are two totally different bandwidths. Switching from 850 MHz to 900 MHz network would take 24 months of hardware upgrades across several thousands of sites nationwide. Moreover, there were no participants in the auction and it failed due to conditions inacceptable to all operators,” said Mr. Bawa.

“If the court grants an injunction allowing customers to use 850 MHz network during the court process, the state will collect all profits on 850 MHz, meaning customer protection does not damage the state in any way. On the other hand, if customers cannot use the 850 MHz network, this would cause the 850 MHz spectrum to remain idle, damaging both the state and dtac customers irreparably,” said Mr. Bawa.

In the coming days, dtac will be reaching out to customers it has identified as most likely to be affected by NBTC’s decision. Expansion of dtac’s services on 2300 MHz in partnership with TOT and 2100 MHz also continue at a very rapid pace to ensure rapid improvements in the network experience over the coming weeks.