2 June 2023


(ชมคลิป) เดินตามเส้นทางดนตรี “น้องต้นน้ำ” หนุ่มน้อยนักล่าฝันปล่อย MV แรกกับเพลง ไม่ไหวบอกไหว มาทั้งอารมณ์ ความรู้สึกและความต้้งใจ

Post on: Oct 13, 2016
เปิดอ่าน: 19,618 ครั้ง

 

MV.  เพลงแรกของหนุ่มน้อยผู้หลงใหลในเสียงเพลงและดนตรี “น้องต้นน้ำ”ปล่อย MV… เพลงแรก สำหรับหนุ่มน้อยคนนี้ “ต้นน้ำ” กับเพลง #ไม่ไหวบอกไหว ของพี่ Boy  Peacemaker ศิลปินในดวงใจของน้องต้น้ำ ไปชมและไปฟังเพลงซึ้ง ๆ เพลงนี้ที่ถ่ายทอดโดยหนุ่มน้อยวัย 6 ขวบคนนี้ได้เลย  #b-star music school #korat

 

 

 

 

 

 

 

กำลังมาแรง… ปล่อยมาอีก 1 เพลงกับหนุ่มน้อยคนนี้ “ต้นน้ำ” กับเพลง #คนสุดท้าย ที่ใส่อารมณ์เต็มที่ ไปฟังพร้อม ๆ กันตอนนี้เลย #b-star music school #korat

 

 

 

 

 

 

 

อีกก้าวของเส้นทางดนตรี “น้องต้นน้ำ” หนุ่มนักล่าฝันวันนี้มาจับไมค์ร้องเพลงให้ฟังกัน..

มาพบกับอีกหนึ่งความฝันบนเส้นทางดนตรี ของ “น้องต้นน้ำ” หนุ่มน้อยโคราชวัย 6 ขวบ เขายังคงมุ่งหน้าเดินตามฝันบนเส้นทางสายดนตรี   วันนี้ จับไมค์มาร้องเพลงให้ FC ได้ฟังในฉบับของ ต้นน้ำ กับเพลง ถามเอาอะไร  #อย่าลืมติดตามตอนต่อไป  #ถามเอาอะไร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เดินทางมาถึง… part 3  ”ต้นน้ำ”เด็กน้อยวัย 5 ขวบบนเส้นทางนักเปียโนมือใหม่ ขอบคุณน้ำใจไมตรีที่ FC ที่คอยติดตามให้กำลังใจเด็กน้อยคนนี้  เค้ายังคงก้าวย่างอย่างมั่นใจ และใฝ่ที่จะเรียนรู้เพื่อการเดินทางไปตามความฝันของเขา   สัปดาห์นี้ครูเกริก เพิ่มเติมวิชาอะไรบ้างไปดูกัน….

ยังคงเกาะติด…การเดินทางตามความฝันของหนูน้อยชาวโคราชวัย 5 ขวบ  #บนเส้นทางสายดนตรี  #นักเปียโนมือใหม่   ต้องขอบคุณน้ำใจแฟนคลับที่ยังคงติดตาม และถามหากัน นั่นเป็นพลังที่จะเติมฝันของเด็กหนุ่มคนนี้ให้ก้าวตามฝันอย่างมั่นใจ   วันนี้เดินทางมาถึง #3     “ต้นน้ำ”  #ณฐกร   อินทัง  ครูเกริกเติมความรู้เรื่องอะไรให้บ้าง ต้องไปติตดามชมกันในคลิปนะครับ   #โรงเรียนดนตรียามาฮ่า ย่าโม  จ.นครราชสีมา  


 

                                                 โปรดติดตามตอนต่อไปด้วยนะครับ….

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาแล้วคร้าบ… part 2  เกาะติด…การเดินทางตามความฝันของ”ต้นน้ำ”เด็กน้อยวัย 5 ขวบบนเส้นทางนักเปียโนมือใหม่  สัปดาห์นี้เรียนรู้อะไรไปดูกัน….

ร่วมเกาะติด…การเดินทางตามความฝันของหนูน้อยชาวโคราชวัย 5 ขวบ  #บนเส้นทางสายดนตรี  #นักเปียโนมือใหม่   ขอกำลังใจแฟนคลับเติมพลังฝันของเด็กหนุ่มคนนี้ด้วยนะคร้าบ  วันนี้มาถึง # 2    “ต้นน้ำ”  #ณฐกร   อินทัง  ยังไปได้สวย แม้ว่าสัปดาห์นี้จะหยุดไปหนึ่งวีค เพราะเวลาของครูกับลูกศิษย์ไม่ตรงกัน มาสัปดาห์นีเริ่มมีอาการอิดออดบ้าง แต่ก็ยังทำได้ดี  @โรงเรียนดนตรียามาฮ่า ย่าโม  จ.นครราชสีมา  สำหรับ #2 มาร่วมเรียนรู้ตัวโน๊ตเปียโนกันครับ

                                                   (โปรดติดตามตอนต่อไปด้วยนะครับ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกาะติด…การเดินทางตามความฝันของ”ต้นน้ำ”เด็กน้อยวัย 5 ขวบบนเส้นทางสายดนตรี นักเปียโนมือใหม่

ร่วมเกาะติด…การเดินทางตามความฝันของหนูน้อยชาวโคราชวัย 5 ขวบ #บนเส้นทางสายดนตรี  นักเปียโนมือใหม่  มาเอาใจช่วยกันว่า…#ต้นน้ำ# ณฐกร   อินทัง จะไปถึงฝั่งฝันของเค้าได้หรือไม่.. @โรงเรียนดนตรียามาฮ่า ย่าโม  จ.นครราชสีมา  วันแรกได้เรียนรู้อะไรบ้างไปดูกัน #1

 

                              (โปรดติดตามตอนต่อไป)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขี้โกงมีหนาว! “แสงซินโครตรอน” เทคโนโลยีสุดล้ำพิสูจน์วัตถุโบราณ “บ้านเชียง” อายุ 3,500 ปี ปลอมหรือจริงได้แม่นยำ

นักวิจัยไทยใช้เทคโนโลยี “แสงซินโครตรอน” พิสูจน์วัตถุโบราณ เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง มรดกโลก อายุกว่า 3,500 ปี ของปลอมหรือจริงได้อย่างแม่นยำ เผยใช้เทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ ร่วมกับเทคนิคดูดกลืนรังสีเอกซ์วิเคราะห์ องค์ประกอบทางเคมีของเนื้อดินและสี นำไปสู่วิธีการแยกแยะเครื่องปั้นดินเผาของแท้หรือทำเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ                                                             

บ้านเชียง1-1ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เปิดเผยว่า  “ปัจจุบันได้มีการนำแสงซินโครตรอนมาใช้ในการวิจัยด้านโบราณคดีอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป เนื่องจากเทคนิคการทดลองที่ใช้แสงซินโครตรอนสามารถบอกให้รู้ถึงองค์ประกอบและโครงสร้างของวัตถุได้โดยไม่ทำลายชิ้นงานให้เสียหายหรือมีผลอื่นใดต่อวัตถุที่นำมาศึกษา ทำให้เหมาะที่จะนำแสงซินโครตรอนไปใช้ในการศึกษาวัตถุโบราณหรือวัตถุที่มีคุณค่าและมูลค่าสูงอื่น ๆ ได้ สำหรับประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีการนำแสงซินโครตรอนมาใช้ในการศึกษาด้านโบราณคดีเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ

ที่ผ่านมาสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติของกระจกเกรียบโบราณด้วยแสงซินโครตรอน ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้คณะวิจัยของสถาบันนำตัวอย่างกระจกเกรียบโบราณจากวัดพระศรีรัตนศาสดารามมาดำเนินการศึกษา เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีว่า กระจกแต่ละสีประกอบด้วยธาตุชนิดใดบ้าง และมีปริมาณเท่าไร จนประสบความสำเร็จสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาสังเคราะห์กระจกใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมือนของเดิมทุกประการ เพื่อใช้สำหรับงานบูรณปฏิสังขรณ์ในอนาคต”

Dr Prapong Klysubunดร.ประพงษ์  กล่าวต่อว่า  “ล่าสุดทีมงานนักวิจัย ได้ทำการศึกษาวิจัยเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง  จังหวัดอุดรธานี ซึ่งบ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่งที่ให้ความรู้อย่างมาก เกี่ยวกับพัฒนาการของสังคมและวัฒนธรรมสมัยโบราณเมื่อหลายพันปีมาแล้วในประเทศไทย สิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมายังบ้านเชียงก็คือ เรื่องราวอันเกี่ยวกับอดีตของพื้นที่นี้ โดยเฉพาะเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีการจัดแสดงไว้เป็นพิพิธภัณฑสถาน 2 แห่ง คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง และพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้งที่วัดโพธิ์ศรีใน เมื่อประมาณ พ.ศ.2515 ได้เริ่มมีการสังเกตพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีในพื้นที่เนินของหมู่บ้านและส่งผลให้มีการศึกษาทางโบราณคดี จนได้ทราบว่าความจริงแล้วพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของบ้านเชียงปัจจุบัน เคยมีคนตั้งถิ่นฐานมาแล้วก่อนประวัติศาสตร์เมื่อหลายพันปีก่อน โบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผาที่มีการตกแต่งเขียนเป็นลายสีแดง โครงกระดูก เครื่องมือที่ทำด้วยหินและสำริด และเหล็ก โดยเฉพาะภาชนะดินเผาเขียนเป็นลายสีแดงนั้นเป็นโบราณวัตถุที่มีลักษณะเด่นมากเนื่องจากเพิ่งมีการพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย”

สำหรับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยและของโลก ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อปี พ.ศ. 2535  เนื่องจากพบหลักฐานที่แสดงถึงอารยธรรมชุมชนโบราณซึ่งเป็นชุมชนเกษตรกรรมที่มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในยุคโลหะที่มีอายุกว่า 3,500 ปี มีหลักฐานที่บ่งบอกถึงการมีวัฒนธรรม ขนบประเพณี และภูมิปัญญาในหลาย ๆ ด้าน ในแหล่งโบราณคดีนี้นักโบราณคดีได้ขุดค้นพบหลุมศพของชาวบ้านเชียงโบราณซึ่งมีประเพณีฝังศพที่จะทำการฝังสิ่งของเครื่องใช้ เป็นการอุทิศให้กับผู้ตายด้วย ภายในหลุมศพเหล่านี้จึงพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากสำริดและเหล็ก เช่น ใบหอก ใบขวาน มีด เครื่องประดับลูกปัดที่ทำจากหินและแก้ว เศษผ้า และที่สำคัญคือภาชนะเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่มีการเขียนสีเป็นลวดลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์ จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในนาม “เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง”

บ้านเชียง1-2 บ้านเชียง1-3“ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงมีความงดงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงเป็นที่ต้องการของผู้ที่สนใจและนักสะสม ทำให้เกิดการทำเทียมเลียนแบบขึ้นเป็นจำนวนมาก การทำเทียมเหล่านี้ได้มีการพัฒนาเทคนิคจนสามารถทำให้ดูเหมือนของแท้ รวมไปถึงการทำให้ดูเหมือนเก่าด้วย ซึ่งการพิสูจน์ความเป็นของแท้นั้นทำได้ยากและต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์อย่างมากเท่านั้น

ดังนั้นกรมศิลปากร ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ศึกษาวิจัยคุณสมบัติของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงด้วยแสงซินโครตรอน ทั้งในส่วนของเนื้อดินและสีที่เขียนเป็นลวดลาย  เพื่อนำไปแยกแยะความแตกต่างระหว่างเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงของแท้และของที่ทำเลียนแบบขึ้นมา และได้มาซึ่งองค์ความรู้ในการพิสูจน์ความเป็นของแท้ของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงโดยใช้เทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ ร่วมกับเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ในการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของเนื้อดินและสี นำไปสู่การพัฒนาวิธีการแยกแยะเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงของแท้และของทำเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร.ประพงษ์กล่าวในตอนท้าย

DCIM100MEDIADJI_0178.JPG

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สุดมหัศจรรย์ ! ซินโครตรอนวิจัยพบ “เห็ดเยื่อไผ่” คุณประโยชน์อื้อ นักวิจัยไทยเร่งต่อยอดผลิตอาหารเสริม-เวชสำอาง

นักวิจัยไทยสุดยอด ใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน วิจัยพบ “เห็ดเยื่อไผ่”  สุดมหัศจรรย์!  อุดมไปด้วยสาร มีคุณประโยชน์สูงทุกส่วนประกอบ ทั้งสารต้านอนุมูลอิสระยับยั้งมะเร็ง ป้องกันโรคสมองเสื่อม มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ ลดริ้วรอย และเร่งผลิตเซลล์ผิวใหม่ อีกทั้งพบสารสำคัญที่สามารถนำมาผลิตยาโด๊ปขนานเอกได้ เผยเร่งต่อยอดงานวิจัยผลิตอาหารเสริมและเวชสำอาง พร้อมส่งเสริมเกษตรกรเพาะเห็ดเยื่อไผ่ คาด 1 ปี คนไทยได้ใช้แน่เห็ดเผื่อไผ่สายพันธุ์กระโปรงยาว-1

ดร.วรวิกัลยา  เกียรติ์พงษ์ลาภ  นักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า “สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมกับสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา มี ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา หัวหน้าโครงการวิจัยต้นแบบการผลิตเห็ดเยื่อไผ่ในสวนไผ่ครบวงจร ภายใต้ทุนสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ทำการศึกษาองค์ประกอบและสารสำคัญของเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์กระโปรงยาวสีขาว  เพื่อนำความรู้จากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ด้านต่างๆ ทั้งนี้สืบเนื่องจาก เห็ดเยื่อไผ่ หรือ เห็ดร่างแห (Dictyophora indusiata) เป็นที่นิยมบริโภคในประเทศจีนมานาน เนื่องจากเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยามากมาย เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงสมอง และลดความดัน เป็นต้น ซึ่งประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการวิจัยพัฒนาเห็ดเยื่อไผ่มาเป็นเวลาหลายสิบปีจนสามารถผลิตเป็นการค้าได้เพียงประเทศเดียวในโลก เห็ดเยื่อไผ่นี้สามารถเติบโตได้เช่นกันในพื้นที่เขตร้อนชื้น เช่น เขตป่าไม้ไผ่ในประเทศไทย ซึ่งพบ มีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ เห็ดเยื่อไผ่กระโปรงยาว เห็ดเยื่อไผ่กระโปรงสั้น เห็ดเยื่อไผ่สีชมพู และเห็ดเยื่อไผ่สีส้ม อย่างไรก็ตามเห็ดนี้ยังพบตามธรรมชาติได้น้อย ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการศึกษาวิจัยการเพาะปลูกรวมถึงสรรพคุณของเห็ดเยื่อไผ่ เพื่อให้ผู้บริโภคและนักวิจัยได้เข้าใจถึงเห็ดเยื่อไผ่มากขึ้น โดยมีรายงานว่าคุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางทางยาของเห็ดเยื่อไผ่นี้ขึ้นกับสายพันธุ์ และจากสรรพคุณทางยาและความนิยมบริโภคที่มากขึ้นทำให้เห็ดเยื่อไผ่กลายเป็นเห็ดเศรษฐกิจอีกชนิดที่ได้กำลังรับความสนใจเพาะเลี้ยงในปัจจุบัน”

ดร วรวิกัลยา-web1ดร. วรวิกัลยา  กล่าวอีกว่า “ทีมงานของ ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประสบความสำเร็จในหาวิธีการเพาะปลูกเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์จีนกระโปรงยาวสีขาวรวมถึงวิธีการเก็บรักษาและการดูแลหลังการเก็บเกี่ยว อีกทั้งได้ทำงานวิจัยร่วมกับทีมงานนักวิจัยของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2559 โดยเก็บตัวอย่างเห็ดเยื่อไผ่แบบตูมมาจากแปลงวิจัยในเขตพื้นที่จังหวัดสระแก้วและนครราชสีมาเพื่อทำการศึกษาองค์ประกอบและสารสำคัญของเห็ดเยื่อไผ่ ในห้องปฏิบัติการแสงสยาม

เห็ดเผื่อไผ่สายพันธุ์กระโปรงยาว-4สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน พบว่า เห็ดเยื่อไผ่ชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีโปรตีนร้อยละ 20 ไขมันร้อยละ 4-5 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 40-50 กรดอะมิโนมากกว่า 14 ชนิด และวิตามินอีกหลายชนิด ซึ่งเห็ดเยื่อไผ่นี้มีโปรตีนสูงกว่าเห็ดอื่นๆ เช่น เห็ดโคนมีโปรตีนร้อยละ  4.2 เห็ดฟางร้อยละ 3.4 เห็ดหอมสดร้อยละ 2.2 และเห็ดหูหนูร้อยละ 1.4 เป็นต้น ซึ่งเหมาะกับการนำมาบริโภคเป็นโปรตีนที่ทดแทนเนื้อสัตว์ได้ดังกล่าว นอกจากคุณค่าทางโภชนาการ ในแต่ละส่วนของเห็ดเยื่อไผ่ยังมีสารสำคัญและฤทธิ์ทางชีวภาพที่แตกต่างกันไปโดยในส่วนปลอกหุ้มดอกและหมวกดอกจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) อยู่ในปริมาณสูง สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นได้หลายรูปแบบ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้อย่างหลากหลาย เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคสมอง เป็นต้น ส่วนเมือกหุ้มดอกเห็ด มีลักษณะเป็นเจลเข้มข้นที่อุดมไปด้วยกรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) และอัลลันโทอิน (Allantoin) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดการระคายเคืองของผิว เพิ่มความชุ่มชื้นฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ และยังพบกรดกลูโคนิค (Gluconic Acid) ที่สามารถเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่ชั้นผิวหนังกำพร้า จะเสริมการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ซึ่งทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น นุ่มนวล มีความยืดหยุ่นดี ลดริ้วรอยและช่วยเติมเต็มผิวที่หย่อนคล้อยโดยสารอัลลันโทอินจากเห็ดเยื่อไผ่นี้เป็นสารชนิดเดียวกับที่พบในเมือกหอยทาก แต่จะมีความบริสุทธิ์และสามารถเก็บเกี่ยวได้ง่ายกว่า ส่วนลำต้นและกระโปรงนั้น อุดมไปด้วยสารพอลิแซคคาไรด์พวกเบต้ากลูแคน (β-glucan) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ทั้งกระตุ้นและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นในส่วนลำต้นนี้ยังพบสารดิกทิโอฟอรีน เอ และบี (Dictyophorines A and B) ซึ่งเป็นสารที่พบยากมากในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ยับยั้งมะเร็ง และ ยังเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาท และป้องกันโรคสมองเสื่อมนอกจากนั้นสปอร์เชื้อรา สีน้ำตาลเขียวขี้ม้า ที่มีกลิ่นค่อนข้างเหม็น   ทีมวิจัย พบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) อยู่ในปริมาณสูงและพบสารสำคัญที่สามารถนำไปทำยาโด๊ปได้”

เห็ดเผื่อไผ่สายพันธุ์กระโปรงยาว-2ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวเสริมตอนท้ายว่า “จากการศึกษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์จีนกระโปรงยาวสีขาวนี้อุดมไปด้วยสารสำคัญมากมายเหมาะสำหรับการนำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ทั้งในวงการอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม และรวมถึงวงการผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่สามารถพัฒนาให้มีคุณสมบัติทัดเทียมกับเยื่อเมือกหอยทาก ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเห็ดเยื่อไผ่อีกด้วย โดยประโยชน์ดังกล่าวสอดรับกับกระแสรักษ์โลกและรักสุขภาพที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั่วโลก”

“ทีมงานจะต่อยอดงานวิจัยดังกล่าว ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเห็ดได้อย่างแท้จริง โดยขณะนี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้เพาะเลี้ยงเห็ดเยื้อไผ่เพื่อเป็นต้นแบบไว้เป็นจำนวนมาก และเตรียมสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้เพาะปลูกเห็ดเยื่อไผ่แห่งประเทศไทย และนำเสนอต่อ “ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์” ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่จะทำแปลงเพาะปลูกเห็ดเยื่อไผ่ให้มีผลผลิตสูง เพื่อรองรับการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม และรวมถึงเวชสำอาง ที่นักวิจัยกำลังทดลอง คาดว่า อีก 1 ปีจะมีผลิตภัณฑ์จากเห็ดเยื่อไผ่ โดยทีมนักวิจัยนี้แน่นอน” ผศ.ดร.นิภาพร กล่าว

เห็ดเผื่อไผ่สายพันธุ์กระโปรงยาว-3

 

ป้ายกำกับ: